กฎหมายเบื้องต้นของเรื่องมรดก

https://pantip.com/topic/41539308

กฎหมายเบื้องต้นของเรื่องมรดก

          เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย  ทรัพย์มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกได้แก่ทายาท  ส่วนคำถามที่ว่า มรดกที่กฎหมายบัญญัติให้ตกทอดแก่ทายาทนั้น  ได้แก่ทรัพย์อะไรบ้าง และจะตกทอดแก่ผู้ใด  ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดก  ใครต้องเสียสิทธิในการรับมรดก  เหตุผลรองรับและจะจัดการรวบรวมแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้นให้แก่ทายาทอย่างไร

          เพื่อทำความเข้าใจเราต้องเริ่มจากว่า  “กองมรดก” ได้แก่อะไรบ้างซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1600 ได้แก่ ” ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิและหน้าที่และความรับผิดต่างๆ   เว้นแต่กฎหมายบัญญัติหรือโดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ” และเมื่อทราบว่าผู้ตายมีอะไรเป็นกองมรดก  แล้วปัญหาต่อมาก็คือ มรดกรายนั้นตกทอดให้แก่ใคร  และตกทอดเมื่อใด  ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1602

          กล่าวคือ   ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกตาย  หรือถือว่าตาย  ส่วนทายาทที่จะได้รับทรัพย์มรดกที่ตกทอดคือใคร  อาศัยอำนาจตามมาตรา 1603 วางหลักไว้ว่า กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฏหมายที่เรียกว่าทายาทโดยธรรม  หรือโดยพินัยกรรม  ที่เรียกว่าผู้รับพินัยกรรม  จึงสรุปได้ว่าทายาทที่จะได้มีสิทธิในการรับมรดกตกทอด  มีสองประเภทคือ  1. ทายาทโดยธรรม กับ 2. ผู้รับพินัยกรรม

          ทายาทโดยธรรม เป็นทายาทประเภทที่กฎหมายกำหนดสิทธิ และจัดลำดับการมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังไว้ตามความใกล้ชิดของทายาทกับเจ้ามรดก  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 และกำหนดส่วนแบ่งไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1630 และ 1635 ส่วนผู้รับพินัยกรรม เป็นทายาทประเภทที่เจ้ามรดกเป็นผู้กำหนดไว้ในพินัยกรรมด้วยตนเองก่อนตาย   ให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกรวมถึงกำหนดว่าจะให้ได้รับทราบอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด  ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าเป็นการแสดงเจตนาของเจ้ามรดกดังนั้นเมื่อเจ้ามรดกตาย  สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้หรือไม่   ถ้าทำไว้และพินัยกรรมสมบูรณ์ใช้บังคับได้   ทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกได้แก่ผู้มีชื่อตามที่ระบุไว้

          เมื่อผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำไว้แต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับ  เช่น ทำพินัยกรรมผิดแบบตกเป็นโมฆะ หรือจะนำทรัพย์มรดกนั้นมาแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย หรือหากเป็นกรณีผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์มรดกแต่เพียงบางส่วน   ผู้ตายยังมีทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมหรือพินัยกรรมมีผลบังคับเพียงบางส่วน เช่น ผู้รับมรดกบางคนตายก่อนเจ้ามรดก  เช่นนี้ มรดกส่วนที่อยู่นอกพินัยกรรม  หรือทรัพย์มรดกในพินัยกรรมส่วนที่ไม่มีผลบังคับก็จะถูกนำมาปันให้แก่ทายาทโดยทำเช่นเดียวกันตามมาตรา 1620

          เมื่อทราบตัวผู้มีสิทธิได้รับมรดกและส่วนของมรดกที่แต่ละคนจะได้รับแล้ว  ไม่ว่าทายาทผู้นั้นจะเป็นผู้รับพินัยกรรมหรือทายาทโดยธรรมยังต้องพิจารณาต่อไปว่าทายาทผู้นั้นเสียสิทธิในการรับมรดกหรือไม่ด้วยเหตุใดเช่นถูกกำจัดถูกตัดหรือมีการสละมรดกหรือไม่  ถ้ามีกรณีดังกล่าวทรัพย์มรดกในส่วนนั้นจะไปตกได้แก่ผู้ใดเพราะเหตุใดหรือเสียสิทธิเพราะขาดอายุความมรดกหรือไม่  นอกจากนี้ยังมีกรณีของพระภิกษุที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นเฉพาะ

          ทั้งในกรณีพระภิกษุเป็นเจ้ามรดกและพระภิกษุเป็นทายาท  ในที่สุดเมื่อทราบว่ามีผู้ใดมีสิทธิได้รับมรดกแล้วก็จะมาถึงเรื่องของผู้จัดการมรดกว่า  มีวิธีการตั้งอย่างไร  ผู้ใดร้องขอตั้งได้บ้าง  ผู้จัดการมรดกมีคุณสมบัติอย่างไรมีหน้าที่และความรับผิดอย่างไรและการปันทรัพย์มรดกมีวิธีการอย่างไร  จบด้วยอายุความในคดีมรดก

          ปัจจุบันมีผู้ทำพินัยกรรมมากขึ้น แม้กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องทำแต่การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้ด้วยการทำพินัยกรรม ย่อมเป็นการป้องกันมีให้เกิดข้อพิพาทกันภายหลังในขณะเดียวกันบทบัญญัติเกี่ยวกับพินัยกรรมก็มีสารสำคัญหลายประการ  ซึ่งหากทำไม่ถูกต้องอาจตกเป็นโมฆะอันจะทำให้เจตนาอันแท้จริงของผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินไม่มีผลบังคับต้องหวนกลับไปปั่นให้ทายาทโดยทำตามลำดับ

สรุป กฎหมายเบื้องต้นของเรื่องมรดก เป็นลักษณะของการแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้แก่ทายาท หรือผู้รับพินัยกรรม หากมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทในส่วนเท่าๆกัน

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE