การขยายเวลาไถ่ทรัพย์

https://pantip.com/topic/40467927

การขยายเวลาไถ่ทรัพย์ มาตรา 496

วันนี้ สำนักงานกฎหมาย มีบทความเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาไถ่ทรัพย์ ซึ่งมีคำถามจากทางบ้านมากมายครับว่า หากไม่สามารถไถ่ทรัพย์ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอขยายได้หรือไม่ หรือถามว่า การขยายระยะเวลาขายฝาก มีผลผูกพันผู้ใดบ้าง และคำถามสุดท้าย ขยายเวลาขายฝาก มีค่าธรรมเนียมไหม วันนี้เรามีคำตอบ หากใครเพิ่งมาเจอคอนเท้นท์นี้แล้วอยากทำความเข้าใจเบื้องต้น ให้อ่านกระทู้ก่อนหน้านี้ครับ

ต่อจากกระทู้ที่แล้ว

การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามมาตรา 496 ปัจจุบัน

1. การขยายกำหนดเวลาไถ่นั้น

จะขยายกี่ครั้งก็ได้ แต่เมื่อรวมกำหนดเวลาไถ่เดิมในสัญญากับที่ขยาย การเปลี่ยนแปลงสัญญาขายฝาก ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ จะเกิดกว่า 10 ปี นับแต่เวลาซื้อขายไม่ได้ และถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์จะเกินกว่า 3 ปี นับแต่เวลาซื้อขายไม่ได้ ถ้าตกลงขยายระยะเวลาไถ่กันเกิน 10 ปี หรือ 3 ปี ไม่เสียไป แต่ให้ลดลงใมาเป็น 10 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่ประเภททรัพย์ตามมาตรา 496 วรรคหนึ่ง

         ถ้าการขยายกำหนดเวลาไถ่ ไม่ได้กำหนดเวลาไว้ ต้องบังคับตามมาตรา 494 กล่าวคือ หากทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้มีสิทธิไถ่ย่อมมีสิทธิไถ่ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝากถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก

         คำพิพากษา 2086-2087/2550 สัญญาขายฝากที่ดินที่โจทก์ผู้ซื้อฝาก ทำกับจำเลยผู้ขายฝาก มิได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากตามราคาที่ขายฝากตาม ป.พ.พ มาตรา 499 วรรคแรก หากจำเลยมีเงินไถ่ที่ดินที่ขายฝากภายในกำหนดเวลาตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากด้วยการนำเงินสินไถ่ไปวางทรัพย์ต่่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ที่ดินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิของจำเลย ตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้วางทรัพย์อันเป็นสิไถ่ตาม ป.พ.พ มาตรา 492 วรรคแรก

         บันทึกข้อตกลงที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็น การต่อสัญญาขายฝากที่ดิน ขยายกำหนดเวลาไถ่ แม้มิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ก็มีผลบังคับให้ผู้กันโจทก์ผู้รับไถ่ ซึ่งลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 เมื่อสัญญาขยายกำหนดเวลา ไถ่มิได้กำหนดเวลาไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 494 กล่าวคือ จำเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินขายฝากภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยฟ้องขอไถ่ที่ดินที่ขายฝากจากโจทก์ ก็ยังไม่พ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาขายฝาก จำเลยจึงมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากโจทก์

         เมื่อจำเลยครอบครองทำประโยชน์ ในที่ดินที่ขายฝาก หลังจากทำสัญญาขายฝากให้โจทก์แล้วโดยโจทก์ยินยอมและโจทก์ทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ที่ดินที่ขายฝากให้จำเลย การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่ขายฝากต่อไปหลังจากครบกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาเดิม จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์         

2. การขยายกำหนดเวลาไถ่ มาตรา 496 วรรคสอง

บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ทุกกรณี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาขายฝากสังหารมิทรัพย์ที่มีราคาไม่ถึง 20,000 บาท ซึ่งไม่ต้องการหลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดี หรือสัญญาขายฝากสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ซึ่งต้องการหลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 456 วรรคสามประกอบวรรคสอง หรือสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ หรือสังริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ที่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง เช่น ก. ตกลงขายฝากแหวนเพชรให้กับ ข. ด้วยวาจาราคา 5,000 บาท กำหนดไถ่ภายใน 1 ปี ระหว่างยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่หาก ก. กับ ข. ตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่เป็น 3 ปี จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อ ข. ผู้รับไถ่ มิฉะนั้น ข้อตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ ไม่ผูกพัน ข.

         ข้อตกลง การขยายเวลาไถ่ทรัพย์ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ หรือผู้ซื้อฝาก ตามประมวลกฎหมายแพ่วงและพาณิชย์ มาตรา 496 วรรคสอง เป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ผู้ขายฝากจะขอสืบพยานบุคคลว่า ผู้ซื้อฝากตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ให้อีก 6 เดือน โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมาแสดงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก)      

3. สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้ามีการตกลงขยายกำหนดเวลไถ่ ( การเปลี่ยนแปลงสัญญาขายฝาก ) แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ก็เพียงใช้ยันผู้รับไถ่ได้เท่านั้น แต่จะยกการขยายเวลาไถ่เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วมิได้ เว้นแต่จะได้นำหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ก. ขายฝากที่ดินไว้กับ ข. ราคา 1,000,000 บาท กำหนดไถ่ภายใน 5 ปี ระหว่างยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ หาก ก. กับ ข. ตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่เป็น 10 ปี การตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่จะผูกพัน ข. ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อ ข. เป็นผู้รับไถ่ มิฉะนั้น ข้อตกลงวขยายกำหนดเวลาไถ่ไม่ผูกพัน ข. แต่ถ้าต่อมาปีที่ 6 ขายที่ดินแปลงนั้นต่อไปให้แก่ ค. โดย ค. ไม่รู้ในขณะ ทำสัญญาซื้อขาย และขณะจดทะเบียนว่ามีการขยายกำหนดเวลาไถ่ การขยายเวลาที่ ก. และ ข. ได้ ทำกันไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อ ข. แม้จะผูกพัน ข. ใช้ยัน ข. ได้ แต่ก็ไม่ผูกพัน ค. ไม่ได้ การขยายเวลาไถ่จะผูกพัน ค. ก็ต่อเมื่อ ก. ได้นำหนังสือหรือหลักฐาน การขยายกำหนดเวลาไถ่ที่ ข. ลงลายมือชื่อไว้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไปให้แก่ ค.

         แต่กรณีตามตัวอย่าง ถ้า ก. ได้รับความเสียหายจากการที่ ข. นำทรัพย์สินที่ขายฝากไปก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ ข. ต้องรับผิดต่อ ก.

         คำพิพากษาฎีกาที่ 18460/2557 การขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ ขายฝากกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่อย่างน้อย มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ จึงจะบังคับได้         

4. หากมีการตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ตามมาตรา 496

อาจมีการตกลงเพิ่มสินไถ่ ให้มากขึ้นตามระยะเวลาไถ่ที่เพิ่มขึ้นก็ได้ ภายใต้บังคับมาตรา 499

  • ข้อสังเกต ผู้ขายฝากอาจสละสิทธิไถ่การขายฝากได้ ถ้าเป็นการสละสิทธิไถ่โดยชอบ

         คำพิพากษาฎีกาที่ 861/2515 ผู้ขายฝากกับผู้รับซื้อฝาก ตกลงระงับสิทธิไถ่ถอนการขายฝาก โดยผู้รับซื้อฝากยอมยกหนี้เงินกู้รายอื่นนอกจากการขายฝากให้ผู้ขายฝาก และให้ผู้ขายฝากทำนาในที่ดินที่ขายฝากอีก 1 ปีโดยไม่คิดค่าเช่า ฝ่ายผู้ขายฝากยอมยกที่พิพาทให้ผู้ซื้อฝาก ถือว่าผู้ขายฝากสละสิทธิไม่ไถ่ถอนที่ดินคืนแล้ว และเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งไม่มีแบบของนิติกรรม ผู้ขายฝากจะมาฟ้องขอไถ่ที่พิพาทคืนไม่ได้

         แต่ถ้าเป็นกรณีสละสิทธิไถ่โดยไม่ชอบ หากผู้ขายฝาก หรือผู้มีสิทธิไถ่ขอใช้สิทธิไถ่ ผู้ซื้อฝากหรือบุคคลตามมาตรา 498 จะต้องยอมให้ไถ่

         สรุป การขยายเวลาไถ่ทรัพย์ กฎหมายขายฝาก ระบุว่าอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ : 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE