การขอของกลางในคดีอาญาคืน จะมีขึ้นในกรณีที่มีการถูกริบทรัพย์สินที่ใช้ขณะกระทำความผิด ซึ่งเป็นของกลางในคดีอาญา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในคดีมี่มีการยึดทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้สั่งริบทรัพย์สินแล้ว กฎหมายก็เปิดช่องทางให้เจ้าของที่แท้จริงเข้ามาขอทรัพย์คืนได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้
ของกลางในคดีอาญานั้น อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นทรัพย์สินสิ่งของที่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเกี่ยวข้อง ได้ใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อยึด อายัด รักษาไว้ เพื่อนำมาใช้ประกอบในการพิจารณาคดี ฉะนั้นในระหว่างที่ทรัพย์สินอยู่ในการควบคุมของเจ้าพนักงาน จะต้องเก็บหลักฐานไว้จนกว่าจะมีการพิจาณาและพิพากษาคดีจนเสร็จ ดังนั้น กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับของกลางในคดีอาญาจึงมีหลายขั้นตอน เริ่มจากการยึด ตรวจพิสูจน์ เก็บรักษา จนกระทั่งถึงการริบ สั่งคืน
เกี่ยวกับการยึดของกลาง มีบทบัญญัติอยู่ในมาตรา 132 แห่งประมาวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับของกลางไว้ดังนี้
มาตรา 132 เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมพยานหลักฐาน ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือ ตรวจสิ่งของหรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมทั้งทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาดจำลอง หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือ หรือลายเท้า กับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลาย ซึ่งน่าจะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น
ในการตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิง หรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหา จะขอนำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้
(2) ค้นเพื่อพบสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกรทำผิด หรือได้ใช้ หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิด ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญยัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยค้น
(3) หมายเรียกบุคคล ซึ่งครอบครองสิ่งของ ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่บุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่จำเป็นต้องมาเอง เมื่อจัดส่งสิ่งของมาตามหมายแล้ว ให้ถือเสมือนว่าได้ปฏิบัติตามหมาย
(4) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบ หรือส่งมาดังกล่าวไว่้ในอนุมาตรา (2) และ (3)
คำพิพากษาฎีกาที่ 6601/2554 แม้การรวบรวมหลักฐานจะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ตาม ปวิอ. มาตรา 131 แต่พนักงานสอบสวนจะรวบรวมหลักฐานใดบ้าง อย่างไร เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะพิจารณาและใช้ดุลพินิจดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น จนสามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้เท่านั้น ตาม ปวิอ. มาตรา 132 เมื่อการรวบรวมหลักฐานของพนักงานสอบสวนได้ความชัดว่า ตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางในห้องนอนของจำเลยแล้ว พนักงานสอบสวนอาจมีความเห็นว่ากรณีไม่จำต้องดำเนินการจัดทำบันทึกภาพถ่ายของกลางที่ตรวจพบ ตลอดจนไม่ทำแผนที่แสดงจุดตรวจพบเมทแอมเฟตามีนของกลางก็ได้ หาทำให้การสอบสวนไม่ชอบไม่ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกการจับกุมโดยมีรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้ กับมีการทำบัญชีทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึด ถือว่าเป็นการปฏิบัติตาม ปวิอ. มาตรา 103 แล้ว จึงเป็นการตรวจ้นโดยชอบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 9567/2544 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ป. สั่งให้ ป. ส่งเมทแอมเฟตามีนที่ ป. ถืออยู่ เพื่อเป็นพยานหลักฐาน การที่จำเลย นำถึงบรรจุเมทแอมเฟตามีนจากมือของ ป. หลบหนีไป เป็นการเอาไปเสียซึ่งเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานสั่งให้ ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน มีความผิดตาม ปอ. มาตรา 142
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 มิได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้น หรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
การจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับของกลาง
เมื่อมีการได้ของกลางมาไม่ว่าจะโดยทางใด เจ้าพนักงานก็ต้องมีการจัดทำบันทึกเพื่อเป็นหลักฐาน โดยระบุรายละเอียดของกลาง การได้มา การรับรองจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดการค้น การยึด การลงรายงานประจำวัน การส่งไปตรวจพิสูจน์ ตลอดจนการจัดทำบัญชีของกลางและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การริบและ การขอของกลางในคดีอาญาคืน
การยึดทรัพย์สินไว้ในระหว่างพิจารณาคดี ตามกฎหมายจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบของกลางไว้ จะแบ่งการริบอยู่ 2 ประเภท คือการริบโดยเด็ดขาด หรือ การริบโดยใช้ดุลพินิจ
1. การริบโดยเด็ดขาด ตามมาตรา 32 ทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญยัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
กรณีตามบทบัญญัติมาตรา 32 นี้ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ริบของกลาง โดยเป็นการริบโดยเด็ดขาด ศาลไม่อาจใช้ดุลพินิจเป็นประการอื่นได้ โดยถือหลักว่า เป็นกรณีทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ทั้งนี้ เพราะเป็นของอันตราย ของผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด อาวุธปืนไม่มีทะเบียน สินค้าปลอม สินค้าอันตราย
คำพิพากษาฎีกาที่ 8411/2557 แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี และใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่มีผู้ทำปลอมขึ้น เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำขึ้นเป็นความผิด ซึ่งต้องริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตาม ปอ. มาตรา 32
2.การริบโดยใช้ดุลพินิจ
มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยกระทำความผิด
- เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้ เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ในการกระทำความผิด
สรุป จากบทบัญญัติดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า กฎหมายแยกประเภททรัพย์สิน ที่ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการริบไว้ในกรณีต่างๆ คือ
1. ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
2. ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยกระทำความผิด
- ทั้งสองกรณีดังดล่าว อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า หาก เจ้าของทรัพย์สินมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ริบไม่ได้
ทรัพย์สินที่จะริบ ต้องเป็นทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิด กล่าวคือ มีการใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดโดยแท้ ไม่ใช่เป็นเพียงทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง หรือใช้เป็นประโยชน์เพียงทำให้การกระทำความผิดสะดวกขึ้น หรือเป็นประโยชน์จากการใช้ตามปกติทั่วไป
การขอของกลางในคดีอาญาคืน การริบทรัพย์สินของกลางนั้น อาจเป็นการริบทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย แต่ในขณะที่มีการริบนั้นไม่อาจจะรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงยังไม่แสดงเหตุผลว่ามิได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้มีการขอคืนของกลางที่สั่งริบได้ แต่ต้องเฉพาะ เป็นกรณี การริบตามมาตรา 33 และมาตรา 34 เท่านั้น
มาตรา 36 ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฎในภายหลัง โดยคำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้น ยังคงมีอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงนั้น จะต้องกระทำต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
1.ทรัพย์สินที่ริบ เป็นการริบตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 34 ของกลางที่ริบ ที่จะมีสิทธิขอคืนได้นั้น ต้องเป็นกรณีการริบตามมาตรา 33 และมาตรา 34 ส่วนกรณีการริบโดยเด็ดขาดตามมาตรา 33 นั้น ไม่สามารถขอคืนได้ เพราะเป็นสิ่งของต้องห้ามตามกฎหมายอยู่แล้ว
2.ผู้มีสิทธิขอคืนคือ เจ้าของที่แท้จริง แยกออกได้ดังนี้
ก. จำเลยผู้กระทำความผิดไม่มีสิทธิขอ
ข. กรณีของกลางเป็นสินสมรส คู่สมรสต้องพิสูจน์ว่ามิได้เป็นผู้รู้เห็นในการกระทำความผิด ย่อมมีสิทธิคืนได้กึ่งหนึ่ง
ค. กรณีเป็นผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิตกแก่ผู้ซื้อตั้งแต่ได้มีการตกลงกันแล้ว แม้จะยังไม่มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม
ง. กรณีเช่าซื้อ แม้ทำสัญญาเช่าซื้อก่อนมีการสั่งริบ แต่มีการโอนกรรมสิทธิหลังศาลสั่งริบ ก็ไม่มีสิทธิร้องขอคืนของกลาง คือต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินขณะที่มีการกระทำความผิด มิใช่เป็นเจ้าของภายหลังที่มีการกระทำความผิด
วิธีการและขั้นตอน ขอคืนของกลาง เจ้าของที่แท้จริง จะต้องแต่งตั้ง ทนายความ เพื่อยื่นคำร้องขอขอกลางคืนภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด โดยหน้าที่นำสืบต้องกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริง และตนไม่มีส่วนรู้เห็นด้วยในการกระทำความผิด ส่วนอัยการซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิม จะเป็นผู้คัดค้านและสืบแก้ในประเด็นดังกล่าว
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE