การทำความเห็นทางกฎหมาย เป็นงานพื้นฐาน
การจัดทำความเห็นทางกฎหมายแบ่งเป็น 5 หัวข้อใหญ่ๆ
1. ความหมาย
2.วัตถุประสงค์
3.ลักษณะขั้นตอนการทำความเห็น
4.วิธีการทำความเห็น
5.การยกตัวอย่าง
1. ความหมาย
การให้ความเห็นทางกฎหมาย คือ การจัดทำเอกสารทางกฎหมายประเภทหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของลูกความ ในการความเห็นที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ที่จะบังคับกับปัญหาหนึ่งปัญหาใด หรือกรณีใดกรณีหนึ่ง
ที่มาของความเห็น อาจจะมีหลายกรณีตามเหตุการณ์ ในประเภทต่างๆ เช่น
(1) ลูกความ หรือ ลูกค้า ผู้ใช้บริการมีข้อเท็จจริงที่นำมาเล่า หรือบอกเล่า ที่ต้องการความเห็นทางกฎหมายเพื่อทราบผลของกฎหมาย
(2) หรืออาจเป็นกรณีที่ลูกความถามปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีข้อกฎหมายเรื่องหนึ่งเรื่องใด ว่ามีหลักการอย่างไร มีผลเป็นอย่างไร เช่น การค้าต่างตอบแทนรัฐต่อรัฐ หรือต้องการทราบเรื่องความลับทางการค้า
(3) ผู้ถามอาจจะให้ข้อเท็จจริงมา หรือยกข้อกฎหมายมาแล้ว ขอให้พิจารณาเพื่อทำเป็นความเห็นว่า กรณีตามข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายดังกล่าวมีทางออก มีแนวทางที่พิจารณา และมีข้อที่ควรระมัดระวัง หรือมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงว่ามีอะไรบ้าง มีผลดี ผลเสียอย่างไร ในแต่ละประเด็นรวมทั้งต้องการข้อเสนอแนะ ขอทราบวิธีป้องกันหรือแก้ปัญหา ตลอดจนหาทางออกมีอย่างไรบ้าง หรือขอให้เสนอความเห็นในการหาข้อยุติต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การจะขอสิทธิเป็นตัวแทน และจะทำสัญญาแฟรนไชส์ ควรทำได้หรือไม่ และจะเกิดผลประการใด
2. วัตถุประสงค์ โดยทั่วๆไปของการทำความเห็นเพื่อจะรู้ว่า
- 2.1 ธุรกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
เช่น มีผู้ชักชวนร่วมลงทุนในกิจการ เป็นการลงทุนในลักษณะเป็นอย่างไร ลักษณะเฟรนไชส์ ลักษณะหุ้นส่วน ทรัพย์สินที่ร่วมลงทุนมีอะไรบ้าง แบ่งผลกำไร หรือรายได้กันแบบใด มีสัญญาระหว่างกันมีรายละเอียดอย่างไร
- 2.2 ธุรกรรมน่าเชื่อถือหรือไม่
โดยแจ้งรายละเอียด และแจ้งข้อเท็จจริงของการลงทุน การเข้าหุ้น แจ้งประเภทของกิจการ เมื่อมีการสอบถามข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดการแบ่งเงินปันผล หรือผลกำไร ประเภทของกิจการ วิธีการนำเงินเข้าบริษัท และคอยสังเกตุดูพฤติการณ์ว่า ธุรกรรมนั้น น่าเชื่อถือหรือไม่ ควรร่วมลงทุนด้วยหรือไม่
- 2.3 ข้อรับรองต่างๆ นั้นถูกต้องหรือไม่
เพื่อขอความเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อรับรองต่างๆ ถูกต้องแท้จริงชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติและวิธีการตามกฎหมายหรือไม่ หรือการทำธุรกรรมนั้นถูกต้องหรือไม่ เช่น มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือไม่ มีการขอใบอนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ มีขอบเขตการประกอบกิจการภายในวัตถุประสงค์หรือไม่ ใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งการหรือลงลายมือชื่อ อันนี้ก็ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง
- 2.4 มีสิทธิหน้าที่อย่างไร
เป็นกรณีเพื่อให้รู้ว่า ผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ มีสิทธิที่จะทำธุรกรรมหรือทำนิติกรรมสัญญาหรือไม่ โดยต้องดูเรื่องสิทธิและหน้าที่ ดูนิติสัมพันธ์ จากหลักฐานต่างๆ ในเบื้องต้น เพื่อดูว่าได้กระทำกับผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ หรือเป็นเจ้าของสัญญาตัวจริงหรือไม่
3.ลักษณะและขั้นตอนการทำความเห็น
3.1 ลักษณะของการทำความเห็นจะประกอบด้วย
1. การทำความเห็นในรูปของเอกสาร หนังสือ หรือจดหมาย
2. ความเห็นมักจะประกอบด้วยเงื่อนไข ข้อสังเกต ข้อเท็จจริง เงื่อนไขเกี่ยวกับข้อกฎหมาย
3. ลักษณะความเห็นที่มีการยกตัวอย่างประกอบ
3.2 ขั้นตอนการทำความเห็นประกอบด้วย
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเอกสาร
2. กำหนดประเด็นของเรื่อง
3. ค้นหาข้อกฎหมายเพื่อใช้กับประเด็นที่ทำความเห็น บันทึกการทำความเห็น
4. ข้อเท็จจริง ข้อหารือ หรือข้อสอบถาม หรือข้อพิจารณา นำมาประกอบ
4. สาระสำคัญของความเห็น จะมีส่วนประกอบที่เป็นสาระสำคัญอยู่ 6 ส่วน คือ
(4.1) การบรรยายข้อเท็จจริง ที่ลูกความต้องการให้ความเห็น
(4.2) ตามข้อเท็จจริงนั้น ต้องตรวจสอบ ศึกษา และพิจารณาหลักกฎหมายประกอบที่เกี่ยวข้อง
(4.3) แสดงเหตุผล และความเห็นในแต่ละประเด็นๆไป ทั้งข้อเท็จจริงเอามาปรับกับบทข้อกฎหมาย
(4.4) ให้เหตุผลสนับสนุน อาศัยบทนิยามหรือความเห็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา แนวปฏิบัติ
(4.5) ทำสรุป และทำความเห็น ข้อเสนอแต่ละประเด็นอย่างครบถ้วน
การทำความเห็นทางกฎหมาย แม้จะถูกเล่าด้วยวาจาก็ควรจะทำความเห็นในรูปแบบของหนังสือ ส่วนใหญ่ทำเป็นจดหมายแจ้งให้ผู้ที่มาขอความเห็นหรือลูกความทราบ เพราะเนื่องจากการแนะนำด้วยวาจา อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการนำไปสื่อสารต่อได้ หรือเนื้อหาไม่ครบถ้วน หากทำเป็นความเห็นเป็นหนังสือ สามารถที่จะนำมาทบทวนอีกได้
ความเห็นมักประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ เช่น เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของข้อเท็จจริง จะใช้ได้เฉพาะกับข้อเท็จจริงที่ได้รับมาเท่านั้น จะนำไปผนวกกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงไม่ได้ และจะนำกฎหมายต่างประเทศมาใช้กับกฎหมายในประเทศไทยไม่ได้
สรุป การทำความเห็นทางกฎหมาย ทำเป็นข้อเสนอแนะ บอกวิธีการและบอกกล่าวให้ครอบคลุมทั้งทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ และผลที่ตามมาหากเกิดข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในภายหลังด้วย
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ : 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE