การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง

https://pantip.com/topic/41603599

การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง

สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี เป็น สำนักงานทนายความ ทนายความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ครับ ให้บริการปรึกษาคดี วางแผนทางคดี ให้คำแนะนำเบื้องต้นด้านกฎหมาย คดีอาญา คดีแพ่ง คดีครอบครัว คดีที่ดิน คดีก่อสร้าง ฯลฯ สำนักงาน กฎหมาย มีบทความเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับ การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง หลักเกณฑ์จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามกันได้เลยครับ

การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดหรือไม่ ก่อนได้จะตอบคำถามนี้ เรามาดูโครงสร้างตามกฎหมายละเมิดก่อนครับ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

     1. ความรับผิดเพื่อละเมิดโดยแท้ เกิดจากการกระทำ คือ มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย โดยที่ตัวเองไม่มีอำนาจได้แก่มาตรา 420 ถึงมาตรา 423 มาตรา 428 และมาตรา 432

     2. ความรับผิดเพื่อละเมิดที่เกิดจากการกระทำของคนอื่น คือ ผู้รับผิดไม่ได้ทำด้วยตนเอง แต่ว่าคนอื่นเป็นผู้กระทำ แล้วจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่น นายจ้างรับผิดจากการกระทำของลูกจ้าง ตัวการต้องรับผิดจากการกระทำของตัวแทน หรือผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์ , ผู้ไร้ความสามารถ ผู้ดูแลจะต้องร่วมรับผิดในผลจากการกระทำของผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถได้แก่มาตรา 425 ถึง 427 มาตรา 429 ถึง 431

     3. ความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากสัตว์ หรือสิ่งขอ งความเสียหายเกิดจากการกระทำของสัตว์หรือสิ่งของเจ้าของสัตว์หรือสิ่งของมีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบได้แก่มาตรา 433 ถึง 437

     4. มีกฎหมายพิเศษเฉพาะที่กำหนดไว้ต้องรับผิดในเรื่องละเมิด เช่น ความลับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยความรับผิดทาง พ.ร.บ สิ่งแวดล้อม

     ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานละเมิดกับ ความผิดทางอาญา คือ
1. คดีละเมิดผิดกฏหมายแพ่งหรืออาญาก็ได้ ส่วนอาญากฎหมายต้องบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า การกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
2. คดีละเมิดเป็นการเยียวยาความเสียหายด้วยค่าสินไหมทดแทน อาญาเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อย
3. คดีละเมิดเมื่อผู้กระทำละเมิดตาย กองมรดกต้องรับผิดความผิดทางแพ่งไม่ระงับ แต่คดีอาญาความผิดระงับ
4. คดีละเมิดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่อาญาคือเจตนาความยินยอมไม่เป็นละเมิด เว้นแต่ เข้า พระราชบัญญัติ ข้อสัญญาไม่เป็นธรรมอาญา ความยินยอมไม่เป็นข้อแก้ตัว หากขัดต่อความสงบเรียบร้อย

     การกระทำโดยไม่มีสิทธิเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย ดังนั้นการกระทำที่มีสิทธิ จากกระทำได้เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ก็ไม่เป็นละเมิดได้แก่

1. การใช้สิทธิตามกฏหมาย

2. การใช้สิทธิตามสัญญา

3. กระทำโดยอาศัยอำนาจตามคำพิพากษา

4. ความยินยอมการกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ถูกกระทำย่อมไม่ละเมิดผลก็คือไม่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและก็ไม่เป็นละเมิด

การฟ้องคดีแพ่งหรือการใช้สิทธิทางศาล  หากกระทำโดยไม่สุจริต จงใจที่จะทำให้ได้รับความเสียหายโดยใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ก็เป็นการกระทำที่ละเมิดได้ เช่น แจ้งความเท็จ กลั่นแกล้ง , ฟ้องเท็จ คดีแพ่ง ,

     คำพิพากษาฎีกาที่ 752 / 2543 การที่บริษัทจำเลยที่ 2. โดยจำเลยที่ 1. เป็นผู้จัดการเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระจากโจทก์ทั้งสองนั้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฏหมาย แต่ก็อาจจะเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้ หากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต โดยที่จะประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นถ้าฟ้องคดีแพ่งโดยใช้สิทธิสุจริตจะแพ้หรือชนะไม่สำคัญ แต่ถ้าเป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิโดยสุจริต แม้จะแพ้ ก็ไม่เป็นการกระทำโดยละเมิด การจะเป็นละเมิดหรือไม่ คือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายจึงจะเป็นละเมิด

     คำพิพากษาฎีกาที่ 528 / 2509 การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้จึงไม่เป็นละเมิด

     คำพิพากษาฎีกาที่ 468 / 2527 จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า  อ. ลูกหนี้จำเลยตามคำพิพากษา เป็นคนปลูกบ้านหลังใหม่ที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดบ้านของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยสุจริตหาได้มีเจตนากันแกล้งหรือโดยความประมาทเลินเล่อ เพื่อให้โจทก์เสียหายแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ถ้ามีเจตนาจะยึดทรัพย์คนอื่นโดยรู้อยู่แล้ว อันนี้ก็จะเป็นการจงใจเป็นละเมิด แต่ถ้าไม่รู้เข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ของตนแล้ว ก็ชี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไว้โดยมีเหตุอันควร ที่จะเชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้มาคุมการก่อสร้าง ลูกหนี้มาที่บ้านหลังนี้บ่อย เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยต้องนำสืบให้เห็นชัดเจนว่า ยึดทรัพย์โดยมีความเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นของลูกหนี้ไม่ใช่ของผู้เสียหายในคดีนี้

การฟ้องคดีอาญาจะเป็นละเมิดหรือไม่

     คำพิพากษาฎีกาที่ 594 / 2500 การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาล ถ้าไม่ได้ความว่าโจทก์ฟ้องโดยไม่สุจริตหรือแกล้งฟ้องแล้ว การกระทำของโจทก์หาใช่การกระทำละเมิดต่อจำเลยทางแพ่งไม่จำเลยจะฟ้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี หรือค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียงไม่ได้ แต่ถ้าใช้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามปกติโดยสุจริต ถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฏหมายที่ได้รับการคุ้มครอง

     คำพิพากษาฎีกาที่ 10854 / 2559 จำเลยปลอมสัญญากู้เงินใช้เป็นหลักฐานฟ้องโจทก์และนำสืบสัญญากู้เงินปลอมนั้นจนศาลรับฟังและพิพากษาให้โจทย์ชำระเงินแก่จำเลยเป็นการทำให้โจทก์เสียหายเป็นละเมิดต้องชดใช้ค่าสินใหม่ทดแทนแก่โจทก์ ฎีกานี้เป็นการทำหลักฐานเท็จขึ้นมาเท่ากับเป็นการฟ้องโดยไม่สุจริตจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2513 การเอาความเท็จมาฟ้องในคดีแพ่งหรือการที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเป็นเท็จ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เพราะมิได้เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน และการที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีแพ่งโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ไม่

           ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การฟ้องความกับการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเป็นการกระทำคนละประเภท การฟ้องความเป็นวิธีดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความ ไม่ใช่เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 คำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลก็เป็นวิธีดำเนินการตามกระบวนพิจารณาความเช่นกัน หาใช่เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานไม่ ส่วนที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จในรายงานพิจารณานั้น จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 ผู้ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานทำเช่นกัน

สรุป ในคดีแพ่ง ไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จ (ในคดีอาญามีความผิดฐานฟ้องเท็จ) ดังนั้นกับคำถามที่ว่า การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดหรือไม่ หากผู้ถูกฟ้องในคดีแพ่งหากเห็นว่าไม่ถูกต้องเพราะเหตุผู้ฟ้องกลั่นแกล้ง หรือเจตนาฟ้องโดยไม่สุจริต สามารถฟ้องในข้อหาละเมิด และเรียกค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายได้

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Web: https://www.facebook.com/UDOMKADEE