การรับฟังพยานเอกสาร

https://pantip.com/topic/39677677

การรับฟังพยานเอกสาร คือ การที่โจทก์หรือจำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนในคดี และศาลจะวินิจฉัยคดีโดยอาศัยพยานหลักฐานในคดีนั้น ซึ่งการยื่นเอกสารหยานหลักฐานในแต่ละครั้ง จะต้องพิจารณาด้วยว่า พยานหลักฐานนั้นรับฟังได้หรือไม่เท่านั้น การที่มีผู้อ้างว่า มีพยานหลักฐานเด็ด จึงไม่อยู่ในการรับฟังหรือชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด

การรับฟังพยานเอกสาร คดีแพ่งและคดีอาญา

เรื่องนี้เป็นหลักการสำคัญของการรับฟังพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 และ ป.วิ.อ. มาตรา 238 แต่ไม่ได้มีการวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจ หรือมีการอธิบายเรื่องนี้กันให้ละเอียดลึกซึ้ง ทั้งกฎหมายก็ไม่ได้ให้นิยามความหมายไว้คล้ายๆ กับว่าทุกคนต้องรู้กันอยู่แล้ว แต่จะเกิดปัญหาขึ้นมาเนื่องจากเพราะว่าในเอกสารหนึ่งฉบับที่เป็นสำเนาหรือต้นฉบับนั้น มีความสำคัญถึงขั้นแพ้ – ชนะ ในคดีได้เลย เพราะถ้าไม่เข้าใจว่าเอกสารชิ้นหนึ่งเป็นต้นฉบับแล้ว ทนายความ ก็จะไม่นำสืบ ปรากฎว่าจริงๆแล้ว เอกสารชิ้นนั้นเป็นสำเนาก็อาจจะทำให้ศาลไม่ รับฟังพยานเอกสารชิ้นนั้น ก็จะทำให้คดีเสียหายไปทั้งหมด

          เนื่องจาก การรับฟังพยานเอกสาร คดีแพ่ง และ พยานหลักฐานที่รับฟังได้ ไม่มีบทนิยามจึงต้องทำความเข้าใจทั่วๆไป ว่าคนทั่วไปเข้าใจว่าต้นฉบับเอกสารคืออะไร ต้นฉบับเอกสารนั้นในความเข้าใจโดยทั่วไปน่าจะหมายถึงเอกสารที่ทำขึ้นเป็นฉบับแรก ส่วนสำเนาเอกสารคือ เอกสารที่ทำขึ้นซ้ำจากต้นฉบับ ซึ่งการทำซ้ำอาจจะทำหลายวิธี เช่น ถ้าสมัยโบราณอาจจะใช้วิธีคัดลอกตามต้นฉบับ ก็คือว่าเขียนขึ้นใหม่เลียนแบบตามของเดิมที่ต้นฉบับทุกประการ ปัจจุบันไม่มีการคัดลอกแล้ว แต่ยังจะเห็นร่องราอยในตัวบท ป.วิ.พ. เกี่ยวกับเรื่องการรับฟังและการนำสืบพยานเอกสารว่า สมัยก่อนมีการคัดลอก และกลัวกันมากว่าจะคัดลอกไม่ตรงกับของเดิม จึงมีระบบการที่ให้คู่ความมาตรวจสอบคัดค้านเอกสาร แต่การเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการจึงมีเครื่องคัดสำเนาเอกสาร ถ่ายเอกสาร

          เพราะฉะนั้น เจตนาของคนทำเอกสารที่จะให้เอกสารนั้นเป็นต้นฉบับ หรือสำเนาก็มีความสำคัญในการที่จะกำหนดว่า เอกสารนั้นเป็นต้นฉบับหรือเป็นสำเนา หลักการนี้ใช้คลุมไปถึงการทำซ้ำด้วยวิธีอื่น เช่น ถ่ายเอกสาร พิมพ์จากคอมพิวเตอร์

การอ้างอิง และนำสืบพยานเอกสาร

          การอ้างอิง หมายความว่า การบอกให้ศาลและฝ่ายตรงข้าม ทราบว่าเราประสงค์จะนำสืบพยานเอกสารชิ้นไหนมาสืบ การอ้างอิงนั้น ทำโดยการยื่นบัญชีระบุพยาน และระบุอ้างอิงเอกสารนั้นเอาไว้ ปกติพยานหลักฐานที่อ้างอิงกับนำสืบจะต้องสัมพันธ์กัน จะต้องเป็นไปในทางเดียวกัน จึงจะเป็น พยานหลักฐานที่รับฟังได้ เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 คู่ความจะนำสืบพยานหลักฐานที่ไม่ได้อ้างอิงไม่ได้ หรือในกฎหมายเขียนไว้ในทำนองว่า ถ้าเป็นพยานหลักฐานที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีระบุพยาน ก็ถือว่าไม่ได้อ้างอิง เมื่อนำสืบมาศาลจะไม่รับฟังมาตรา 87(2)

          หากพยานเอกสารมีทั้งต้นฉบับ และมีสำเนา โดยปกติถือว่าต้นฉบับและสำเนาเอกสาร คือพยานคนละชิ้น แม้ว่าจะหน้าตาเหมือนกัน เพราะจะมีนัยสำคัญตรงที่ว่า ถ้าอ้างพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งแล้วจะนำสืบชิ้นอื่นไม่ได้ การอ้างอิงต้องเจาะจงลงไปชัดเจนว่าชิ้นไหน เหมือนการอ้างพยานบุคคล ให้ระบุชื่อ นามสกุลด้วย เอกสารก็เหมือนกันโดยแนสคิดทฤษฎีต้องเจาะจงให้รู้ว่าจะอ้างเอกสารชิ้นไหน แล้วเอกสารคนละแผ่นต้องถือเป็นคนละชิ้น แม้จะหน้าตาเหมือนกันก็ตาม

การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐาน

1.การรับฟังพยานเอกสาร คดีแพ่ง มีบัญญัติอยู่ใน ป.วิ.พ. มาตรา 93
2.การรับฟังพยานหลักฐาน ในคดีอาญา มีบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 283
ซึ่งมีหลักตรงกันว่า การอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้รับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเท่านั้น

          มาตรา 93 ใช้คำว่า อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐาน ไม่ใช้คำว่านำสืบ โดยนัยที่ว่าการอ้างกับนำสืบต้องเป็นไปในทางเดียวกัน คือ พยานหลักฐานที่นำสืบต้องเป็นพยานหลักฐานที่อ้าง ตัวบทระบุแต่การอ้างเพียงอย่างเดียว แต่ก็รวมความไปถึงเรื่องนำสืบด้วย

หลักการให้ยอมรับฟัง ได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น

ที่มาอันเกี่ยวกับเรื่องพยานบุคคลที่ต้องเป็นบุคคลที่รู้เห็น ได้ยินข้อเท็จจริงที่จะเบิกความมาด้วยตนเองโดยตรง หรือมาจากหลักฐานที่ดีที่สุดสำหรับกรณีที่เป็นพยานบุคคล ก็จะเปรียบเทียบกันระหว่างพยานที่พบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง ที่เรียกว่า “ประจักษ์พยาน” กับพยานซึ่งรับฟังพยานหลักฐานนั้นแล้วมาเบิกความ ประจักษ์พยานย่อมเป็นหลักฐานที่ดีที่สุด ส่วนพยานเอกสารมีการเปรียบเทียบกันระหว่างต้นฉบับกับสำเนา เมื่อสำเนาคัดลอกจากต้นฉบับย่อมจะดีสู้เท่าต้นฉบับไม่ได้ จึงให้รับฟังเฉพาะต้นฉบับ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ ศาลจะเคร่งครัดมากกว่าพยานเอกสารที่อ้างอิง และนำสืบต้องเป็นต้นฉบับ ถ้าอ้างอิงและนำสืบสำเนาพยานเอกสารโดยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้น ปกติศาลจะไม่รับฟัง

          คำพิพากษาฎีกาที่ 254/2520 สำเนาเอกสารที่จำเลยส่ง เป็นพยานต่อศาล แต่ไม่ได้ส่งสำเนาให้โจทก์ และไม่เรียกต้นฉบับจากผู้ครอบครองเอกสิทธิรับฟังเป็นพยาน หลักฐานไม่ได้ตามมาตรา 93

          คำพิพากษาฎีกาที่ 918/2521 สำเนาหนังสือซึ่งผู้ช่วยอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย รับรองว่าถูกต้องและลูกหนี้โต้แย้งความถูกต้องของสำเนา เมื่อเจ้าหนี้ผู้อ้างไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับ และไม่ปรากฏว่าผู้รับรองมีอำนาจรองรับเชื่อถือได้เพียงใด จึงรับฟังว่ามีการรับสภาพหนี้ตามสำเนาหนังสือนั้นไม่ได้

https://pantip.com/topic/41623888

ข้อยกเว้นให้รับฟังสำเนาเอกสาร
แม้กฎหมายจะวางหลักให้อ้างอิงและรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นให้รับฟังสำเนาพยานเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 93 รวม 4 ข้อ โดยมีมาแต่ดังเดิม 3 ข้อ และเพิ่งจะมีการเพิ่มเติมเมื่อมีการแก้ไขมาตรา 93 ในปี 2550 อีก 1 ข้อ คือ ข้อ (4)

ข้อยกเว้นตามมาตรา 93 (1) คือ เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว

          ความจริงกฎหมายไม่ได้วางเงื่อนไขที่ไหนเลยว่า คู่กรณีจะต้องรับรองว่า ถูกต้องตามต้นฉบับ คือให้คู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะต้องใช้สิทธิเอกสารนั้นอ้างอิง ซึ่งความจริง หมายความว่า ในคดีนั้นโจทก์ จำเลย และคู่ความอื่นๆ ทั้งหมดมาตกลงกันยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้อง ก็สามารถใช้อ้างอิงแทนต้นฉบับได้

          คำว่า “ถูกต้อง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ข้อความในเอกสารนั้นตรงความจริง มีความหมายแต่เพียงว่า ถูกต้องตามกับต้นฉบับ การที่คู่ความจะตกลงกันตามมาตรานี้ สามารถทำได้หลายวิธี อาจจะเป็นสำเนาเอกสารซึ่งมีการตกลงก่อนเป็นคดีก็ได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 3936/2543 การที่จำเลยไม่ดำเนินการโต้แย้งความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนศาลพิพากษาตามขั้นตอนที่พึงปฏิบัติ ในมาตรา 125 วรรค 3 และ วรรค 4 กำหนดไว้ ถือได้ว่าตกลงรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าว ผู้อ้างไม่ต้องส่งต้นฉบับอีก ตามมาตรา 93 (1)

          คำพิพากษาฎีกาที่ 7062/2547 แม้หนังสือมอบอำนาจช่วงและสัญญาโอนทรัพย์สินจะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ในช่วงเวลาที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน จำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่าไม่ถูกต้อง ศาลไม่ควรรับเป็นพยานหลักฐาน ตามมาตรา 125 คงมีแต่เพียงคำถาม ค้านทนายจำเลยที่ 2 ที่ถามค้านว่าพยานเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาหรือไม่เท่านั้น จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารถูกต้องรับฟังว่า เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ ตามมาตรา 93(1)

          กรณีมีความเห็นส่วนตัว จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 93(1) ต้องมีกระบวนพิจารณา ลักษณะอย่างนี้ที่แสดงให้เห็นชัดว่า คู่ความที่เกี่ยวข้อง เขาตกลงกัน ไม่น่าจะตีความรวมไปถึงกรณีซึ่งฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งสำเนาตาม ป.วิ.พ มาตรา 90 ให้ฝ่ายตรงข้าม แล้วฝ่ายตรงข้ามไม่คัดค้านตามมตรา 125 และให้ถือว่าฝ่ายที่ไม่คัดค้านไดเตกลงด้วยแล้ว ว่าสำเนาถูกต้องตามมตรา 93 (1) ซึ่งเห็นว่าไม่ถูกต้องนัก เรื่องนี้เป็นกรณีผูกโยงกับกระบวนพิจารณาการนำสืบพยานเอกสาร

          ตัวอย่างเช่น สมมติฟ้องจำเลย ตามสัญญากู้ยืมเงิน เรียกเงินกู้คืน ในฟ้องต้องบรรยายว่า มีการทำสัญญาเป็นหนังสือ ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องแนบสัญญากู้ไปท้ายฟ้องที่เขามักจะแนบกัน เพราะเป็นความสะดวกของผู้ฟ้อง เวลาจะอ้างอิงถึงข้อความในสัญญาจะได้ไม่ต้องอ้างทั้งหมด แล้วก็ทำให้ศาลเห็นเบื้องต้น และที่สำคัญ ในเวลาต่อมาจะมีความสำคัญเกี่ยวโยงเรื่องภาระการพิสูจน์ด้วย ทำให้ภาระการพิสูจน์ไปตกอยู่กับฝ่ายหนึ่งได้ ในการแนบสัญญาท้ายฟ้อง อย่างน้อยที่สุด ศาลจะเห็นหน้าเห็นตาและเป็นเหตุผลในจิตวิทยา ศาลจะเชื่อไปครึ่งหนึ่งแล้วว่ามีการกู้ยืมกันจริง

          สมมติว่าในเรื่องนี้ มีการแนบสัญญาไปท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้กู้ยืมตามสัญญา และถุกหลอกให้ลงลายมือชื่อ ศาลจะชี้สองสถานให้มีการนำสืบว่า มีการกู้ยืมหรือไม่ ในการนี้ต้องนำสืบสัญญากู้ การนำสืบที่สำคัญจะอยู่ในบังคับของ มาตรา 93 คือ ต้องอ้างอิงต้นฉบับนั่นเอง

          คำพิพากษาฎีกาที่ 533/2551 ผู้ร้องอ้างส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลชั้นต้น ประกอบคำเบิกความของ ช. แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ค้าน การที่ศาลชั้นต้นคืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างสำเนาแทนต้นฉบับได้ โจทก์ไม่ค้าน การที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาแทนต้นฉบับในขณะที่ผู้ร้องกลับคืนต้นฉบับเอกสาร ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ เป็นการตกลงว่าสำเนาถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังเอกสารนั้น เป็นพยานหลักฐานได้ ตามมตรา 93 (1)

          สรุป การรับฟังพยานหลักฐานแต่ละประเภท จะต้องใช้ต้นฉบับในการอ้างอิงในชั้นพิจารณา ต้องระบุหลักฐานลงในบัญชีระบุพยาน หากจะนำส่งสำเนาเอกสารแทนการสืบพยานอีกฝ่ายหนึ่งต้องไม่คัดค้านด้วย

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE