การสืบสวนและการสอบสวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(11) บัญญัติว่า “การสอบสวน หมายความรวมถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดความผิดมาลงโทษ”
เราแยกองค์ประกอบของการสอบสวนได้ดังนี้
1. การสอบสวน คือ การรวบรวมพยานหลักฐาน
2. การกระทำอื่นใดตามป.วิอาญา
1. การสอบสวน เป็นการรวบรวมพยานหลักฐาน ต้องโดยพนักงานสอบสวน ส่วนการสืบสวน เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือหลักฐานแล้วนำข้อเท็จจริงมาส่งให้พนักงานสอบสวนประมวลเรื่องราว พนักงานสอบสวนต้องกลั่นกรองคัดเลือก
2. การกระทำอื่นตามป.วิอาญา ไม่ใช่การรวบรวมพยานหลักฐาน เช่นพนักงานสอบสวนเอา ผู้ต้องหาไปฝากขัง พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก ไม่ใช่การรวบรวมพยานหลักฐานแต่เป็นการกระทำอื่นใดตามป.วิอาญา ถือเป็นการสอบสวนด้วย
การสืบสวนกระทำโดย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตั้งแต่ชั้นยศต่ำสุดจนถึงสูงสุด
ส่วน “การสอบสวน” ต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวน คือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปปัจจุบันนี้ จะต้องมีการแต่งตั้งด้วย การสอบสวนนั้นมีผลที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของพลเมืองอย่างรุนแรง ซึ่งมีการออกหมายเรียกได้ นำหมายจับไปตรวจค้นเขาก็ได้ การใช้อำนาจสอบสวนกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพฉะนั้นคนที่กระทำต้องมีสถานะสูงพอสมควร กฎหมายจึงกำหนดให้ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือชั้นปลัดอำเภอทำหน้าที่
การสอบสวนกระทำได้เมื่อใดและการสืบสวนกระทำได้เมื่อใด…
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(10) ให้คำนิยามว่า การสอบสวน หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริง และหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฎิบัติตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ส่วนการสอบสวนนั้นมาตรา 2(11) ให้นิยามไว้ว่า การสอบสวนหมายความถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
จากนิยามศัพท์ที่ว่า การสืบสวนคือการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน กฎหมายให้กระทำโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ได้แต่การสอบสวนจะต้องกระทำโดยพนักงานสอบสวน ซึ่งหมายถึงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เหตุผลที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำได้เท่ากัน เพราะการสอบสวนเป็นกระบวนการที่กระทบสิทธิของประชาชนอย่างรุนแรงจึงต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้เรื่องการนี้
ภาระหน้าที่ของการสืบสวนมี 2 ระยะคือ
1. ระยะแรกเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยทั่วไปแม้ยังไม่มีความผิดเกิดขึ้นก็ทำได้
2. ระยะที่สองเป็นการสืบสวนเพื่อหารายละเอียดของความผิด เป็นการกระทำหลังจากที่มีความผิดเกิดขึ้นแล้วเช่น มีการยิงกันตาย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจออกไปสืบสวนว่าเรื่องเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้ยิง เมื่อสืบสวนได้ความว่า เกิดเหตุทะเลาะกันแล้ว ยิงกันตายจึงเป็นการหารายละเอียดของความผิด ก็แปลว่าการสืบสวนสามารถกระทำได้แม้ไม่มีความผิดอาญาเกิดขึ้น
แต่การสอบสวน ป.วิ อาญา มาตรา 18 บอกว่าทำการสอบสวนความผิดอาญา ซึ่งได้เกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดในเขตอำนาจของตน ดังนั้นการสอบสวนจึงทำได้เมื่อมีความผิดเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น
การสอบสวน
ป.วิ อาญา มาตรา 18 บัญญัติว่า “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ปลัดอำเภอและข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดในเขตอำนาจของตนหรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้”
มาตรา 18 แบ่งการสอบสวนคดีอาญาเป็น 2 ส่วนคือ
1. การสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้น นอกกรุงเทพมหานคร
2. การสอบสวนคดีอาญาซึ่งเกิดขึ้น ในกรุงเทพมหานคร
การสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นนอกกรุงเทพมหานครพนักงานสอบสวนจะมี 2 หน่วยได้แก่
1. หน่วยงานปกครองคือมหาดไทย
2. หน่วยตำรวจ
การสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครตำรวจฝ่ายเดียวเป็นผู้สอบสวน
เงื่อนไขการสอบสวนประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. มีความผิดเกิดขึ้น
2.พนักงานสอบสวนนั้นมีเขตท้องที่ๆ ตัวปฎิบัติหน้าที่อยู่
เพราะฉะนั้น เงื่อนไขของการสอบสวนจะประกอบด้วย ตัวบุคคล และ เขตท้องที่ เพราะมีหน้าที่จะต้องดูแลรักษาความสงบในท้องที่ๆ รับราชการ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีหน้าที่ก็สอบสวนไม่ได้ ในส่วนท้องที่กฎหมายพิจารณาเลือกเอาท้องที่ที่มีส่วนสัมพันธ์กับการกระทำผิด โดยกฎหมายกำหนดไว้เป็นข้อแรกว่า ท้องที่ที่ความผิดเกิดเป็นหลัก
จุดแรกของกระบวนการยุติธรรมคือ กระบวนการสอบสวน กฎหมายบอกว่า ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ๆความผิดเกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิด เป็นผู้สอบสวน แต่อย่างใรก็ดี กฎหมายยังได้ขยายท้องที่ที่มีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องนั้นไว้อีก 2 ท้องที่ที่เกี่ยวข้องคือ ท้องที่ๆผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือท้องที่ๆผู้ต้องหาถูกจับให้มีอำนาจสอบสวนคดีเรื่องนั้นได้
บทสรุป ก็คือ การสืบสวนและการสอบสวน จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องได้ควงามว่า มีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น จึงจะมีชุดสืบสวนเพื่อลงพื้นที่หาพยานหลักฐาน หาข่าว หลักฐานที่เกิดเหตุ ส่วนสอบสวน จะเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดเท่าที่จะรวบรวมได้ มาประกอบเข้าเป็นสำนวนเพื่อส่งให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลต่อไป
พนักงานสอบสวน ที่สอบสวนได้ทั้งหมด 3 ท้องที่ ได้แก่
1. ท้องที่ที่เกิดเหตุ
2. ท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่
3. ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE