การเสียสิทธิมรดกโดยอายุความ ซึ่งกฎหมายมีการกำหนดอายุความฟ้องคดีมรดก ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย อายุความมรดกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก”
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมมิให้ฟ้องเมื่อผลกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้ หรือควรได้รู้ถึงสิทธิที่ตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193 / 27แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้อง เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนก่อนนั้นมีให้ฟ้องร้องเมื่อผลกำหนด 10 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
อายุความมรดกเป็นกำหนดอายุความฟ้องร้องขอแบ่งมรดกในฐานะที่มีสิทธิรับมรดกตามกฏหมายหรือตามพินัยกรรมหรือเจ้าหนี้ฟ้องเรียกนี่ที่เจ้ามรดกเป็นอยู่จึงจะต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 มิฉะนั้นถือได้ว่าคดีขาดอายุความ ถือเป็นการสูญเสียการรับมรดกโดยอายุความ
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกสามารถแบ่งได้ 3 กรณี
1. ทายาทโดธรรมฟ้องเรียกมรดก
2. ผู้รับพินัยกรรมฟ้องเรียกทรัพย์มรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม
3. เจ้าหนี้ของเจ้ามรดกฟ้องทายาท
1. ทายาทโดยธรรมฟ้องเรียกมรดก ในกรณีนี้หมายถึง ทายาทโดยธรรมขอเรียกมรดกตามสิทธิของตนจากทายาทคนอื่น จะต้องฟ้องภายในอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง คือต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรม ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1754 วรรคท้าย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1319 / 2512 การแบ่งทรัพย์มรดก อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นสัดส่วนเมื่อผลกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายทายาทผู้ครอบครองมรดกส่วนใดก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนไม่ได้เกี่ยวข้องย่อมขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1791 / 2523 สัญญาเช่าที่ดินเพื่อสร้างอาคารที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดกนั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมตกเป็นกองมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 โจทก์ต้องฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754
คำพิพากษาฎีกาที่ 4109 / 2528 โจทก์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องถือสิทธิครอบครองที่ดินมรดกร่วมกับทายาทอื่นเป็นเวลาประมาณ 30 ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายการที่โจทย์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเกินกว่าหนึ่งปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754
คำพิพากษาฎีกาที่ 1676 / 2532 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดกจึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาทต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754
2. ผู้รับพินัยกรรมฟ้องเรียกทรัพย์มรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ในกรณีนี้หมายถึงผู้รับพินัยกรรมฟ้องเรียกมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้แก่ตน และต้องฟ้องภายในอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสอง คือฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรมแต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1754 วรรคท้าย
คำพิพากษาฎีกาที่ 543 / 2512 ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองมรดกแต่เพียงผู้เดียว และจำเลยรับทราบพินัยกรรมหลังวันเปิดพินัยกรรมหนึ่งเดือนพินัยกรรมเปิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมปี 2506 จำเลยจึงรู้ถึงสิทธิซึ่งจำเลยมีอยู่ตามพินัยกรรมเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 โจทก์ยื่นคำร้องขอรับมรดกตามพินัยกรรมต่อสำนักงานที่ดินวันที่ 4 พฤศจิกายน 2507 จำเลยยื่นคำคัดค้านวันที่ 9 พฤศจิกายน 2507 ผลกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามพินัยกรรมและจำเลยไม่ได้ครอบครองมรดกดังนั้น โจทก์ย่อมกล่าวอ้างอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสอง จึงใช้ยันจำเลยและฟ้องขอให้ห้ามจำเลยไม่ให้คัดค้านการที่โจทก์ขอรับมรดกได้
3. เจ้าหนี้ของเจ้ามรดกฟ้องทายาทของเจ้ามรดก ในกรณีนี้หมายถึงเจ้ามรดกมีเจ้าหนี้และเจ้าหนี้จะฟ้องทายาทให้รับผิดในนี่ของเจ้ามรดกจะต้องฟ้องภายในอายุความของมาตรา 1754 วรรคสามคือต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 943 / 2513 เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภรรยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยทำคนหนึ่งเป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดก ใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 แล้วการฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทอื่นอื่นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 3550 / 2524 สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนหนี้ถึงกำหนดนั้นเจ้าหนี้จะต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามมาตรา 1754 วรรคสาม
สรุปได้ว่า การเสียสิทธิมรดกโดยอายุความ มีบัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับมรดก เพื่อป้องกันมิให้ทายาทมีการสูญเสียการรับมรดกโดยอายุความนั้น ทายาท หรือผู้รับพินัยกรรม หรือเจ้าหนี้ของเจ้ามรดก ต้องฟ้องเรียกมรดกภายใน 1 ปีนับแต่เมื่อรู้ว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หรือภายใน 10 ปี นับแต่รู้หรือควรรู้ว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายครับ
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE