การอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใด ซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้น เป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อ รับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป
ข้อสังเกต การอนุญาตของผู้พิพากษาในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ใช้คำว่า”รับรอง”ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช้คำว่า “อนุญาต”
1. การอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นดุลพินิจเฉพาะตัว ถ้าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้ง ในศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3951 / 2532 วินิจฉัยว่าดุลพินิจในการอนุญาต ให้คู่ความอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ตรี เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้มีคำสั่ง ตามคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์นั้น จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้
2. การอนุญาตให้อุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องอนุญาตหรือรับรอง ในวันที่ยื่นอุทธรณ์และถ้อยคำที่อนุญาตหรือรับรองขอให้มีความหมายว่า เป็นการอนุญาตหรือรับรองก็ใช้ได้
เดิมเคยมีคำพิพากษาฎีกาเก่าๆ ว่าการอนุญาตหรือรับรองต้องใช้ถ้อยคำอย่างในตัวบท มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตหรือรับรอง แต่ในระยะหลังแนวคำพิพากษาฎีกาได้ผ่อนปรนไป กรณีคำอนุญาตตามมาตรา 193 ทวิ ถ้อยคำที่ถูกจะต้องใช้คำว่าพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ จึงอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงส่วนการใช้ถ้อยคำอื่นๆ เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 216 / 2521 ผู้พิพากษาบันทึกเพียงว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ การรับอุทธรณ์ฎีกานี้ก็ไม่มีคำว่าอนุญาตให้อุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2482 / 2527 ผู้พิพากษามีคำสั่งในคำร้องขอให้รับรองให้อุทธรณ์ ว่ารับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่เป็นการอุทธรณ์เพราะเขียนเพียงว่ารับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2255 / 2534 เมื่อพนักงานอัยการได้รับมอบจากอธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรที่จะอุทธรณ์ จะได้วินิจฉัยคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ก็รับรองให้อุทธรณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรับรองในวันที่ยื่นอุทธรณ์ เพียงแต่ให้มีคำรับรองปรากฏให้เห็นที่มีการยื่นอุทธรณ์ และถ้อยคำที่ใช้มีความหมายให้เห็นว่าเป็นการรับรองข้อความที่ต้องห้ามชอบแล้ว ส่วนเหตุผลในการรับรองนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องปรากฏในการรับรองนั้นด้วยแต่อย่างใด
3. ข้อหาที่ยุติในศาลชั้นต้นแล้ว จะอนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาอีกไม่ได้ เพราะไม่เป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวมากันในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 3248 / 2538 ความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอาวุธปืนและความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้นอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกิน 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลย ทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลย์พินิจในการลงโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดตามมาตรา 371 ด้วย โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น หรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ว่าเป็นเหตุอันควรที่ศาลที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 391 ตรี บัญญัติไว้จึงเป็นการไม่ชอบศาลอุทธรณ์ ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อความผิดในข้อหาดังกล่าว ย่อมยุตติเพียงศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาจะลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น จะอนุญาตให้ฎีกาตามมาตรา 221 หาได้ไม่
การขอให้ผู้พิพากษาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 193 ตรี อนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนั้นย้ายไปอยู่ศาลอื่น ก็ยื่นต่อศาลที่พิจารณาตัดสินคดีในศาลชั้นต้น และเป็นหน้าที่ๆ ศาลที่จะส่งไปให้ผู้พิพากษานั้นพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ โดยอาศัยอำนาจ ป.วิแพ่ง มาตรา 224 + ป.วิ อาญา มาตรา 15
4. กรณีที่จะให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ต้องไปยื่นกับสำนักงานอัยการเองไม่ใช่มายื่นที่ศาลและให้ศาลส่งไป
5. หากมีคำขออนุญาตให้อุทธรณ์ไปแล้วต่อมาจะเพิกถอนคำสั่งซื้อเองได้หรือไม่ จะอ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้หรือไม่คำตอบคือไม่ได้
6. คำร้องที่ขอให้อนุญาตอุทธรณ์ ฎีกา ต้องยื่นภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ยื่นฎีกา ด้วยถ้ายื่นเมื่อผลกำหนดแม้ศาลจะอนุญาตก็ไม่ชอบ
7.แม้โจทก์ร่วม ใช้สิทธิขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในปัญหาข้อเท็จจริงแต่อัยการสูงสุดไม่รับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมก็ไม่ทำให้ สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
8. ผู้พิพากษาที่สืบพยานประเด็น ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้อุทธรณ์
9. ผู้พิพากษาที่เคยพิจารณา พิพากษาคดี แม้ย้ายไปอยู่ที่ศาลอื่น ก็อนุญาตให้อุทธรณ์ได้
สรุป การอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ถ้าผู้พิพากษาคนใด ซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้น เป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อ รับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป
หากไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage : www.facebook.com/UDOMKADEE