การแจ้งความร้องทุกข์

https://pantip.com/topic/41392393

การแจ้งความร้องทุกข์

     วันนี้มีผู้เสียหายมาปรึกษาคดีอาญา เรื่องถูกหลอกขายกระเป๋าแบรนด์เนมปลอม  ซึ่งจากการสอบถามข้อเท็จจริงแล้วมีความเห็นเบื้องต้น  ผู้ต้องหาเอากระเป๋าปลอมมาหลอกขายว่าเป็นของแท้มือสอง ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้รับซื้อไว้เพื่อนำไปขายเก็งกำไรต่อ ความผิดในลักษณะนี้ เป็นการหลอกลวงผู้อื่นดวยข้อความอันเป็นเท็จ และได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหาย จึงเป็นลักษณะของความผิดฐานฉ้อโกง  อุดมคดีจึงวางวิธีการและรูปคดี โดยไปแจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีการก่อนในเบื้องต้น  หากผู้ต้องหาปฏิเสธก็คงต้องดำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนต่อไป

     สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ  ขั้นตอน การแจ้งความร้องทุกข์ ในฐานะผู้เสียหายนะครับ  ว่ามีขั้นตอนและต้องทำอย่างไรบ้าง

     มีกฎหมายให้คำนิยามเกี่ยวกับการร้องทุกข์ไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) คำร้องทุกข์  หมายความถึง  “ การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น  จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้น ได้กล่าวโดยเจตนาให้ผู้กระทำความผิดนั้นได้รับโทษ

เมื่อพิจารณาตามมาตรา 2(7) นี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า การแจ้งความร้องทุกข์  จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

     1. ผู้ร้องทุกข์เป็นผู้เสียหาย หรือหากมีการมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

     2. ผู้เสียหายได้กล่าวข้อความว่ามีคว่ามผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวน

     3. กล่าวว่าได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้นซึ่งในขณะแจ้งความร้องทุกข์ อาจจะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ได้

     4. ผู้แจ้งความมีเจตนาที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษทางอาญา

ซึ่งการแจ้งความร้องทุกข์ จะต้องครบองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาเสมอ  หากขาดข้อหนึ่งข้อใด อาจถือได้ว่าไม่ใช่การร้องทุกข์  จะทำให้ส่งผลต่ออำนาจในการสอบสวนและส่งผลถึงอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการอีกด้วย

การกล่าวหาว่ามีการกระทำความผิด  ความผิดทางอาญา มีได้ 2 ประเภท คือ
1. ความผิดส่วนตัว
2. ความผิดต่อแผ่นดิน

https://pantip.com/topic/41442297

ข้อสังเกตคือ

     การแจ้งความร้องทุกข์  สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนกันได้  แต่หลังจากที่มีการแจ้งความร้องทุกข์แล้ว  พนักงานสอบสวนก็จะนัดให้ผู้เสียหายที่แท้จริงมาให้ปากคำปากคำในข้อเท็จจริงเพื่อสอบสวนเนื้อหาของคดีในครั้งถัดไป

     ข้อควรระวัง   แม้ตามหลักของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2537  จะวางหลักไว้ว่า  การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ต้องทำเป็นหนังสือก็ได้  แต่ในทางปฏิบัตินั้น  ต้องมีการทำหนังสือมอบอำนาจที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปด้วย  เนื่องจากเพื่อเป็นหลักฐานให้พนักงานสอบสวนในการแสดงว่า ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการแจ้งข้อกล่าวหาเพียงใด  ไม่ได้เป็นการแจ้งความเท็จ ซึ่งถือเป็นการรับผิดชอบคำพูดของผู้แจ้งอีกด้วย ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่าผู้รับมอบอำนาจที่ไม่มีหนังสือมอบอำนาจมาแจ้งความโดยไม่มีมูลเหตุของความผิดแล้ว   ผู้แจ้งอาจจะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จได้

แต่ทั้งนี้ หากเป็นกรณีเร่งด่วน  ผู้รับมอบอำนาจอาจจะแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนไว้ก่อนได้  และขอกำหนดวันส่งเอกสารเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจในภายหลังก็ได้

เอกสารที่ใช้มอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์ มีดังนี้
1. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมอากรแสตมป์ 30 บาท
2. สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ  และผู้รับมอบอำนาจ
3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทำมผิดของผู้ต้องหา  รูปถ่าย หรือหลักฐานอื่นๆในเบื้องต้น (ถ้ามี)
4. ไปสถานีตำรวจท้องที่ที่มีการกระทำความผิด  หรือท้องที่ที่มีความผิดสำเร็จเกิดขึ้น

ต่อไปเมื่อเรามาถึงสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ

บุคคลผู้รับแจ้งความ จะต้องเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา และ มาตรา 124 วรรค 1 คือ
1.  พนักงานสอบสวน
2. พนักงานฝ่ายปกครอง
3. ตำรวจที่มีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวน   ปอ. มาตรา 124 วรรคหนึ่ง

หากร้องทุกข์ไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้หรือไม่

     ร้องทุกข์ตาม ปอ. มาตรา 2(7) นั้น หากผู้ร้องทุกข์เห็นว่าคำร้องทุกข์มีเนื้อหาผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง  ผู้ร้องทุกข์ ย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำร้องทุกข์ดังกล่าวได้ตาม ปอ. มาตรา 126 วรรค 1

การถอนคำร้องทุกข์

     คำร้องทุกข์ ตาม ปอ. มาตรา 2(7) ผู้เสียหาย หรือผู้ร้องทุกข์ จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อไรก็ได้ ตามหลัก ปอ. มาตรา 126 วรรค 1  ผลของการถอนคำร้องทุกข์ หากเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว จะทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับสิ้นไป  ตาม ปอ. มาตรา 39 (2)  โดยการถอนนั้น สามารถถอนได้ 3 ชั้นคือ ถอนคำร้องทุกข์ในชั้นพนักงานสอย , ในชั้น อัยการและในชั้นศาล

หากเราไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่เห็นเหตุการณ์ว่ามีผู้กระทำความผิด จะสามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้หรือไม่

กรณีนี้ จะเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องตาม ปอ. มาตรา 2(8) นั่นคือ   “คำกล่าวโทษ” คือการที่บุคคลนั้น ไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ได้ไปกล่าวกับพนักงานสอบสวนว่า ได้มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะยังรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวคนร้ายก็ได้  ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับการร้องทุกข์ตามที่เคยกล่าวมาแล้วได้เลย

สรุป การแจ้งความร้องทุกข์ ผู้เสียหายจะต้องถูกกระทำโดยผิดกฎหมายตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด หรือกฎหมายอื่นที่มีลักษณะเป็นความผิดเชิงลงโทษทางอาญา ผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ และพนักงานสอบสวนจะนัดเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงในคดีต่อไปครับ

หากไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage:www.facebook.com/UDOMKADEE