การแสดงเจตนากลฉ้อฉล

https://pantip.com/topic/36717634

การแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล จะต้องมีวิธีการหรือทำถึงขนาดเพียงใด ถึงจะเข้าเงื่อนไข

          วิธีการทำกลฉ้อฉลมีได้หลายประการ จะมีส่วนคล้ายคลึงกันก็คือวิธีการแสดงเจตนา เช่น อาจมีการกระทำอย่างใดๆ ก็ได้ ซึ่งไม่หมายความว่าจะต้องเป็นการแสดงกลฉ้อฉลด้วย คำพูด หรือ ลายลักษณ์อักษรเท่านั้น แต่ย่อมหมายความรวมถึงการทำกริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้คู่กรณีแห่งนิติกรรมหลงเชื่อแสดงเจตนาอันนับได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลได้เช่นเดียวกัน หรือบางกรณีอาจมีการกระทำการหลายๆอย่าง รวมกันเป็นกลฉ้อฉล เช่น อาจเป็นได้ทั้งคำพูด ลายลักษณ์อักษร หรือกิริยาอื่นๆประกอบกัน

          การฉ้อฉลด้วยการนิ่ง เป็นการฉ้อฉลอย่างหนึ่งที่เกิดจากการที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติให้คู่กรณีอีกฝ่ายได้รู้ แต่กลับจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติเช่นนั้นให้คู่กรณีอีกฝ่ายทราบ จนทำให้คู่กรณีอีกฝ่ายนั้นผิดหลง จนแสดงเจตนาทำนิติกรรมลงไป เช่นนี้ หากพิสูจน์ได้ว่า ถ้าไม่มี การนิ่งเสียเช่นว่านั้น คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ทำขึ้น พฤติกรรมที่เกิดจากกลฉ้อฉลด้วยการนิ่งนั้น ย่อมตกเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 162 อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 162 จำกัดเฉพาะนิติกรรม 2 ฝ่ายเท่านั้น ดังนั้น วิธีการทำกลฉ้อฉลโดยปกติ ถ้าเป็นการกระทำการใดๆ อันได้แก่ โดยลายลักษณ์อักษร โดยคำพูด หรือโดยกิริยาอาการ อันมีลักษณะเป็นการไม่สุจริต เพื่อหลอกลวงให้บุคคลอื่นหลงเชื่อเพื่อแสดงเจตนาเข้านิติกรรมนั้น ย่อมถือว่า นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะกรรม ไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมประเภทนิติกรรมฝ่ายเดียวหรือนิติกรรม 2 ฝ่าย แต่หากเป็นการทำกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 162 จำกัดไว้เฉพาะนิติกรรม 2 ฝ่ายเท่านั้น ไม่อาจกระทำได้ในนิติกรรมฝ่ายเดียว

ข้อสังเกต

          1. การที่จะถือเป็นการแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล ด้วยการนิ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 162 ได้นั้น คู่กรณีฝ่ายที่จงใจนิ่งเสียนั้นจะต้องมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วย ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามขนบธรรมเนียมประเพณีหรือตามศีลธรรมก็ตาม หากคู่กรณีฝ่ายที่จงใจนิ่งเสียไม่มีหน้าที่ใดๆ ที่จะต้องแจ้งข้อความจริง หรือคุณสมบัติให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือเป็นกลฉ้อฉลด้วยการนิ่ง นิติกรรมไม่ตกเป็นโมฆียะ

          คำพิพากษาฎีกาที่ 63/2544 จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และอาคารกับโจทกื ระบุว่าอาคารพิพาท เป็นอาคาร 5 ชั้น ซึ่งผิดไปจากแบบที่จำเลยขออนุญาตไว้เพียง 4 ชั้น นอกจากนี้ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารพิพาทเป็นบริเวณสำรวจเพื่อเวนคืน แต่จำเลยปิดบังข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทมีราคาสูงถึง 15,000,000,000 บาท หากโจทก์ทราบหรือเพียงแต่สงสัยว่าจะมีการเวนคืน โจทก์ย่อมจะไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยอย่างแน่นอน เพราะเงินค่าทดแทนที่จะได้รับจากการถูกเวนคืนนั้น ไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระให้กับจำเลย การที่จำเลยปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องการเวนคืนที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพียง 4 ชั้น ล้วนแต่เป็นกลฉ้อฉลของจำเลย ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากจำเลยไม่ใช้กลฉ้อฉลดังกล่าว โจทก์ก็คงจะไม่แสดงเจตนาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลย การแสดงเจตนาของโจทก์จึงตกเป็นโมฆียะตามาตรา 159 ประกอบมาตรา 162

          2. แต่หากเป็นกรณีที่มิได้มีกฎหมาย หรือขนบธรรมเนีบยมประเพณี หรือศีลธรรมใดๆเลย ที่กำหนดให้คู่กณีฝ่ายหนึ่งจะต้องแจ้งข้อความจริง หรือคุณสมบัติให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้ แม้คู่กรณีฝ่ายนั้น จะนิ่งเสียไม่แจ้งให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งทราบ ก็ย่อมไม่ถือเป็นกลฉ้อฉลด้วยการนิ่ง นิติกรรมไม่ตกเป็นโมฆียะ

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1131/2532 การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลนั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบพฟติการณ์อันแสดงออก ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อ แต่ในกรณีที่จะมีโครงการตัดผ่านถนนที่ดินพิพาทหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อจะต้องบอกความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาท จะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง การ กระทำของโจทก์ไม่เป็นกลฉ้อฉล

          3. การทำกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง เป็นเรื่องที่ผู้ทำกลฉ้อฉลโดยการนิ่งต้องเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มิใช่บุคคลภายนอก เป็นผู้ทำกลฉ้อฉลโดยการนิ่ง เพราะบุคคลภายนอกไม่มีหน้าที่ที่ไขข้อความจริง

          4. คู่กรณีฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ต้องจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริง หรือข้อคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการนิ่งโดยคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง นั้น ไม่รู้หรือลืมไป เพราะคิดว่าไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ หรือแม้แต่เหตุหนึ่งเหตุใด ซึ่งมิใช่การจงใจแล้ว การนั้น ก็ไม่เรียกว่าเป็นการจงใจ หรือการนิ่งตามมาตรา 162

ขอบเขตของการทำกลฉ้อฉล

          การแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล นั้น ให้วิเคราะห์ถึง เพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย และภาวะแห่งจิตของผู้แสดงเจตนา ตลอดจนพฤติการณ์และสภาะแวดล้อมอื่นๆ อันเกี่ยวกับการั้นด้วย ตามมตรา 167 จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป

ประเภทของกลฉ้อฉล

          1. กลฉ้อฉลถึงขนาด กลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะได้นั้น จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้น การอันนั้นจะไม่ได้ทำขึ้นเลย ตามมาตรา 159 วรรค 2 หมายถึง หากไม่มีกลฉ้อฉลนั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เข้าทำนิติกรรมด้วย เมื่อใดจะถือว่า กลฉ้อฉลนั้น เป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดให้มีการเข้าทำนิติกรรม ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้น คงจะมิได้เข้าทำนิติกรรมต่อกัน ต้องพิจาณาตามมาตรา 167 คือ มิใช่พิจารณาจากวิญญูชน แต่พิจารณาจากบุคคลผู้ถูกกลฉ้อฉลนั้นเป็นเกณฑ์

https://pantip.com/topic/38628463

          คำพิพากษาฎีกาที่ 2044/2540 จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์โดยชี้ที่ดินแปลงอื่นว่า เป็นที่ดินที่จะขายเพื่อปกปิดเรื่องที่ดิน ที่จะขายมีาสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านอยู่ เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อ เมื่อที่ดินที่ซื้อขายมีประมาณ 16 ไร่ส่วนที่มีสายไฟแรงสูงพาดผ่าน ใช้ประโยชน์ไม่ได้เกือบ 5 ไร่ โจทก์ต้องการซื้อที่ดินเพื่อจัดสรรสร้างเป็นที่อยู่อาสัย กลฉ้อฉลจึงจะถึงขนาดที่ว่า หากจำเลยไม่ได้กระทำกลฉ้อฉลโจทก์จะไม่เข้าทำนิติกรรมกับจำเลย การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรามาตรา 159

          2.กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ หรือกลฉ้อฉลที่เป็นเพียงมูลเหตุจูงใจให้รับข้อกำหนดหนักขึ้น หมายถึง การที่กลฉ้อฉลนั้น ไม่ได้ถึงขนาดที่จะทำให้บุคคลแสดงเจตนาทำนิติกรรมออกมา เพราะไม่ว่าจะถูกกลฉ้อฉลหรือไม่บุคคลนั้นก็ย่อมแสดงเจตนาทำนิติกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ กลฉ้อฉล ดังกล่าว ทำให้แสดงเจตนาต้องยอมรับข้อกำหนดหรือภาระหนักขึ้นเท่านั้น นิติกรรมที่ทำขึ้นจึงไม่มีผลเป็นโมฆียะ เพียงแต่ทำให้ผู้แสดงเจตนามีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลได้เท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้นกลฉ้อฉลเพิ่อเหตุ จึงเป็นกลฉ้อแลที่ไม่ถึงขนาดที่จะไม่ทำนิติกรรมเลย เพียงแต่จูงใจให้อีกฝ่ายยอมรับข้อกำหนดที่หนักขึ้นกว่าที่จะยอมรับตามปกติ

          คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นไม่ได้ แต่คู่กรณีที่ถูกกลฉ้อฉล มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากการที่ตนถูกกลฉ้อฉลไป

          คำพิพากษาฎีกาที่ 159/2524 โจทก์กับคนของจำเลยร่วมกันทำกลฉ้อฉลให้จำเลยซื้อเครื่องไสสันทากาวที่แพงเกินจริง เป็นกลฉ้อฉลเพื่อเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 จำเลยได้เรียกแต่ค่าเสียหายตามราคาที่เกินกว่าจริง จำเลยต้องใช้ราคาเครื่องตามราคาจริงแก่โจทก์

          คำพิพากษาฎีกาที่ 296/2531 โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 โดยโจทก์ที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินพิพาทโดยหลงเชื่อตามที่จำเลยฉ้อฉลว่าที่ดินดังกล่าวติดแม่น้ำ ไม่มีที่ดินแปลงอื่นคั่นอยู่ ซึ่งเป็นกลฉ้อแลเพื่อเหตุ กล่าวคือ เพียงจูงใจให้โจทก์ยอมรับเอาซึ่งราคาที่ดินอันแพงกว่าที่ยอมรับโดยปกติ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉล

          คำพิพากษาฎีกาที่ 4045/2534 จำเลยโฆษณาโอ้อวดคุณสมบัติของรยนต์ที่ขายให้โจทก์ ว่าเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ ความจริงเป็นรถยนต์รุ่นเก่า เคยเปลี่ยนสีมาแล้วหลายครั้ง และจำเลยอวดอ้างคุณสมบัติของรถยนต์ ที่ไม่เป็นจริงอีกหลายประการ โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์โดยเชื่อคำโฆษณาโอ้อวดของจำเลย การซื้อรถยนต์เกิดจากกลฉ้อฉลให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์ที่ซื้อขายกัน แต่รถบยนต์ก็ยังคงเป็นยี่ห้อเดียวกันกับที่ โจทก์ต้องการซื้อ กลฉ้อฉลของจำเลย มิได้ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้ถึงขนาด ซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้น โจทก์จะไม่ซื้อรถยนต์จากจำเลย โจทก์เพียงแต่ยอมรับข้อกำหนดอันหนักขึ้นเท่านั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

สรุป กลฉ้อฉลมี 2 กรณีคือ

1. กลฉ้อฉลถึงขนาดให้คู่สัญญาอีกฝ่ายสำคัญผิด และยอมเข้าทำนิติกรรมสัญญาด้วย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ
2. กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ คือ คู่สัญญาเจตนาที่จะทำนิติกรรมอยู่แล้ว แต่ต้องรับข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่เพิ่มมากขึ้น นิติกรรมไม่เป็นโมฆียะ แต่สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
FanPage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE/