คู่สมรสเสียชีวิต และวิธีการแบ่งทรัพย์มรดก
สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี เป็น สำนักงานทนายความ ทนายความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ครับ ให้บริการปรึกษาคดี วางแผนทางคดี ให้คำแนะนำเบื้องต้นด้านกฎหมาย คดีอาญา คดีแพ่ง คดีครอบครัว คดีที่ดิน คดีก่อสร้าง ฯลฯ สำนักงาน กฎหมาย มีบทความเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับ คู่สมรสเสียชีวิต และวิธีการแบ่งทรัพย์มรดก หลักเกณฑ์จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามกันได้เลยครับ
หากมีความตายเกิดขึ้นระหว่างเป็นสามีภรรยาที่สมรส และทำมาหาได้ร่วมกัน ทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสจะแบ่งกันอย่างไร สามีเสียชีวิตทรัพย์สินจะตกเป็นของใคร หากมีการทำพินัยกรรมไว้ก็ให้เป็นไปตามพินัยกรรม หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ กฎหมายก็มีทางออกให้สำหรับเรื่องการแบ่งทรัพย์สินกันเอาไว้แล้ว
คู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมประเภทหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรคสอง ก่อนที่จะมาสมรสกัน ต่างฝ่ายอาจจะมีสินส่วนตัวของตน และเมื่อสมรสกันแล้ว ก็อาจมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นซึ่งอาจเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสก็ได้ เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย การสมรสสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 ทรัพย์สินเหล่านี้ จึงอาจระคนปนกันอยู่ ดังนั้น จึงต้องแยกทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสกับผู้ตายออกจากกันก่อน ว่าเป็นของฝ่ายใดสำหรับการคิดส่วนแบ่งระหว่างผู้ตายกับคู่สมรส ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับ มาตรา 1513 ถึง 1517 ส่วนการคิดส่วนแบ่ง ให้มีผลนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงไปด้วยความตายตามมาตรา 1625 (1) ส่วนของผู้ตายตกเป็นมรดกตาม 1624 (2) ซึ่งบทบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้ในบรรพ 5
หมายเหตุ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1513 ถึงมาตรา 1517 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1625 นั้นได้ยกเลิกแล้วปัจจุบันต้องอยู่ในบังคับมาตรา 1532 ถึง 1534
คำพิพากษาฎีกาที่ 7536 / 2537 เมื่อ น. ตายการสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตามมาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลยมีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วย เหตุแห่งความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายตามมาตรา 1625 สินสมรสของผู้ตายกับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลยตามมาตรา 1533 ดังนั้นการที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสกันแล้วว่า ยอมนำทรัพย์มรดกของ น. มาชำระให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์สินของจำเลยมาชำระหนี้
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ได้แก่ สินส่วนตัว และสินสมรส โดยสินส่วนตัวของผู้ตาย ก็เป็นมรดกตกแก่ทายาท สินสมรสเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสมีส่วนกันคนละครึ่ง ต้องแบ่งครึ่งกันก่อนหลังจากแบ่งแล้ว สินสมรสก็ได้จากการแบ่งครึ่งของผู้ตาย ก็เป็นมรดกตกแก่ทายาทเช่นกัน สำหรับสินส่วนตัวของคู่สมรส และส่วนแบ่งในสินสมรสของคู่สมรส ผู้ตายจะนำมาเป็นมรดกของผู้ตาย ไม่ได้นอกจากนี้การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสดังกล่าว ยังอยู่ในบังคับของมาตรา 1513 ถึง 1517 เดิมปัจจุบันคือมาตรา 1532 ถึง 1534 กลับมาตรา 1637 และ 1638 ด้วย
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE