จำนำรถติดไฟแนนซ์ คืออะไร ?
จำนำรถติดไฟแนนซ์ คือ การนำรถที่ยังมีภาระหนี้สิน (ไฟแนนซ์) มาจำนำกับผู้ให้บริการทางการเงิน หรือผู้รับจำนำ โดยมักจะเป็นการทำสัญญาที่ระบุว่า รถยนต์นั้นยังมีไฟแนนซ์อยู่ และผู้ให้บริการจะทำการจำนำในรูปแบบที่มีเงื่อนไขเฉพาะ เช่น อาจต้องชำระเงินงวดหรือดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามที่ตกลงกันไว้
การจำนำรถติดไฟแนนซ์ มักจะช่วยให้เจ้าของรถสามารถได้เงินสดในระยะสั้นโดยที่ไม่ต้องขายรถทิ้ง แต่ก็ต้องระวังเรื่องการชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด เนื่องจากรถยังคงเป็นทรัพย์สินที่มีการผูกพันกับไฟแนนซ์อยู่ ถ้าล้มเหลวในการชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องรถคืนได้ โดยผู้เช่าซื้อนั้น เมื่อทำสัญญาเช่าซื้อรถ และยังผ่อนอยู่ จะมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำรถไปจำนำ หรือขาย เพราะไฟแนนซ์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถ ส่วนผู้รับจำนำรถที่ยังผ่อนอยู่ เมื่อผู้จำนำไม่ชำระหนี้ ไถ่ถอนจำนำภายในเวลาที่กำหนด ผู้รับจำนำจะนำรถไปขายโดยพลการไม่ได้ ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำชำระหนี้ หรือไถ่ถอน ถ้าไม่ไถ่ถอน ต้องบังคับหนี้ด้วยวิธีนำรถออกขายทอดตลาดเท่านั้น ถ้าขายด้วยวิธีอื่นเป็นการขายโดยทุจริต และหากไฟแนนซ์เจ้าของกรรมสิทธิ์รถ ติดตามรถคืน แต่ผู้เช่าซื้อ หรือผู้จำนำ นำรถมาคืนไม่ได้ มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บุคคลภายนอก(รับซื้อรถหลุดจำนำ)
รับซื้อรถหลุดจำนำ โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากทำความผิด ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ เช่น ราคาถูกกว่าท้องตลาด รถไม่มีเล่มทะเบียน รถยังผ่อนอยู่ ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์
*หากไฟแนนซ์เจ้าของกรรมสิทธิ์รถ ติดตามรถคืน แต่ผู้เช่าซื้อ/ผู้จำนำ นำรถมาคืนไม่ได้ มีความผิดฐานรับของโจร จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จำนำรถติดไฟแนนซ์ได้ไหม
เนื่องผู้ให้เช่าซื้อ (ไฟแนนซ์) ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถอยู่ เพียงแต่ให้ผู้เช่าซื้อครอบครองรถแทน และใช้ประโยชน์จากรถที่เช่าซื้อเท่านั้น ทำให้ผู้เช่าซื้อไม่สามารถนำไปจำนำได้ แต่หากจำนำเพื่อปิดยอดหนี้และเปลี่ยนสัญญาอันนี้ไม่มีปัญหา แต่หากจำนำเพราะผ่อนต่อไม่ไหว โดยไม่แจ้งให้ไฟแนนซ์ทราบเพื่อเปลี่ยนสัญญาจะเข้าข่ายลักษณะยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดอาญา
การจำนำจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ จำนำรถแบบไม่มีเล่ม และจำนำรถแบบมีเล่ม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
จำนำแบบไม่มีเล่มทะเบียนรถ
การจำนำรถแบบยังไม่ส่งมอบเล่มทะเบียนรถ เป็นวิธีการจำนำรถที่มีความเสี่ยงต่อผู้รับจำนำ เนื่องจากไม่มีหลักประกันใดๆเลยผู้จำนำจะมาไถ่จำนคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด สามเหตุที่มีการจำลักษณะนี้เกิดขึ้นอาจคาดการได้ว่าเกิดจากการทำรถที่ขโมยมา หรือผู้ที่เป็นเจ้าของรถมีความต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน เพียงแค่เอารถไปจอดไว้กับผู้รับจำนำ ก็ว่าเป็นการจำนำตามเจตนาของผู้จำนำและผู้รับจำนำ ซึ่งหน้าที่ผู้จำนำก็ต้องผ่อนชำระจนจบ เท่ากับว่าผู้จำนำต้องจ่ายสองทางคือ จ่ายกับไฟแนนซ์ และจ่ายกับผู้รับจำนำนั่นเอง ซึ่งต้องระวัง ส่วนที่สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ได้รับเรื่องปรึกษามาส่วนใหญ่แล้วจำนำเพื่อเอาเงินไปใช้อย่างเดียวแล้วไม่มีเงินผ่อนค่างวดกับไฟแนนซ์ อาจถูกฟ้องยักยอกทรัพย์ได้
จำนำแบบมีเล่มทะเบียนรถ
การจำนำรถแบบมีเล่มทะเบียนรถ คือ เมื่อเราผ่อนกับไฟแนนซ์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จะมีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดทะเบียนเล่มรถ ได้เล่มทะเบียนต้นฉบับมาเป็นชื่อของตัวเอง เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตัวรถนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งเจ้าของรถสามารถจำหน่ายจ่ายโอน ขาย จำนำ ยกให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามที่ต้องการ
รถติดไฟแนนซ์ ขายได้หรือไม่
จะตอบว่าขายไม่ได้ก็ไม่ถนัดนัก เราสามารถนำไปขายได้ แต่ต้องนำเงินไปชำระกับไฟแนนซ์ที่ยังเหลืออยู่ให้ครบถ้วนเสียก่อน ถึงจะเป็นการหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องทั้งทางแพ่งเเละอาญาในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันมีปัญาที่เข้ามาปรึกษากับ อุดมคดี หลายคดีมากๆ ที่ขายให้คนอื่นโดยที่ไฟแนนซ์ไม่ยินยอมและไม่ผ่อนชำระค่างวดกับไฟแนนซ์ จึงเกิดปัญหาไฟแนนซ์ติดตามรถไม่เจอจึงมีการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งเเละอาญาจำนวนมาก ทางที่ดีที่สุดไม่ควรเอารถไปจำนำต่อ หรือหากจำนำเเล้วนำเงินที่ได้รับมาปิดยอดกับไฟแนนซ์
รถติดไฟแนนซ์ สามารถเทิร์นได้หรือไม่
การเทิร์นรถ คือ การขายรถคันปัจจุบันเพื่อแลกรถใหม่ หรือซื้อรถคันใหม่ โดยหลักแล้วสามารถทำได้ เนื่องจากการเทิร์นจะต้องมีการทำสัญญา การเปลี่ยนสัญญา หรือข้อตกลงใหม่เปลี่ยนรถใหม่ โดยนำรถคันเก่าไปเปลี่ยนเป็นเงินดาวน์ ซึ่งตรงนี้ สำนักงานกฎหมายอุดมคดี ขอแนะนำว่าต้องนำเงินไปคำนวณเพื่อปิดไฟแนนซ์ด้วย
รถติดไฟแนนซ์ สามารถรีไฟแนนซ์ได้หรือไม่
สามารถรีไฟแนนซ์ได้ เมื่อมีการผ่อนรถไปถึง 50% ของยอดทั้งหมดแล้ว สามารถรีไฟแนนซ์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ข้อกำหนดและข้อตกลงตามสัญญาด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่คุณต้องการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้ เช่น ลดอัตราดอกเบี้ย หรือขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ แต่จะมีข้อควรพิจารณาดังนี้:
- สถานะการชำระหนี้: ต้องมีการชำระหนี้ปัจจุบันให้ตรงตามกำหนด และไม่มีประวัติการชำระที่ไม่ดี
- การอนุญาตจากสถาบันการเงิน: คุณต้องติดต่อสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อเดิมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจต้องปฏิบัติตาม
- การประเมินมูลค่ารถ: สถาบันการเงินอาจจะมีการประเมินมูลค่ารถเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการอนุมัติรีไฟแนนซ์
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม: อาจมีค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าธรรมเนียมการดำเนินการ ดังนั้นควรคำนวณความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจ
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE