ตกเป็นจำเลยคดีฉ้อโกง

ตกเป็นจำเลยคดีฉ้อโกง

      มีกระทู้ที่น่าสนใจจากเว็บ Pantip Click https://shorturl.asia/5aXyr สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี จะมาให้ความรู้ในเบื้องต้นหากกรณีตกเป็นจำเลยในคดีฉ้อโกง ซึ่งแยกออกเป็น 3 กรณี คือ 1.กระทำผิดจริงเต็มตามฟ้อง 2. กระทำผิดจริงแต่หลอกลวงเพียงแค่บางส่วน 3. ไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงเลย

      ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงนั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้น กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมารตา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้

มาตรา 341 แยกองค์ประกอบได้ ดังนี้
(1) ผู้ใด
(2) หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้แความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) โดยการหลอกลวงเช่นว่านั้น
3.1 ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
3.2 ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ
(4) โดยทุจริต (เจตนาพิเศษ)

      การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นมีอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งคือการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ กับอีกส่วนหนึ่งคือการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

ย้อนกลับมาที่ผมได้เขียนกล่าวนำ ตกเป็นจำเลยคดีฉ้อโกง

      1.กระทำผิดจริงเต็มตามฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาเต็มตามฟ้องทั้งองค์ประกอบความผิดและมูลค่าความเสียหาย สำนักงานกฎหมาย ขอแนะนำให้รับสารภาพและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เสียทั้งหมด เพราะความผิดฉ้อโกงเป็นความผิดอันยอมความได้ หากชำระค่าสินไหมทดแทนให้เต็มตามที่เสียหายแล้ว ผู้เสียหายอาจจะแถลงขอถอนคำร้องทุกข์ หรือ คำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย

      2. กระทำผิดจริงแต่หลอกลวงเพียงแค่บางส่วน คดีลักษณะนี้ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับผู้เสียหายตั้งเรื่องฟ้องในมูลค่าเสียหายที่มากกว่าจำเลยฉ้อโกงไป(ฟ้องเกินจริง) หรือถูกฟ้องหลายกรรมความผิด แต่บางการกระทำไม่เป็นความผิดฉ้อโกง จึงฟ้องเพื่อลงโทษจำเลยให้แก้ต่างเอาเอง หากข้อเท็จจริงเป็นไปในลักษณะนี้ แนะนำให้สู้คดี

      3. จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงเลย ข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดของจำเลยไม่สามารถปรัชเข้าข้อกฎหมายในลักษณะฉ้อโกงได้ ต้องสู้คดีเท่านั้น แนะนำดูแนวทางต่อสู้คดีได้ที่ Click >> https://shorturl.asia/xla4P

กรณีตามปัญหาเจ้าของกระทู้ Pantip ที่นำมาเสนอในวันนี้ ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

  1. คดีนี้น่าจะเป็นลักษณะทนายความตั้งเรื่องฟ้อง และศาลประทับรับฟ้องไว้เรียบร้อยแล้ว ต่อมาจะมีนัดศาลที่เรียกว่า วันนัดสอบคำให้การ ซึ่งกระบวนการในวันนั้น จะพบกับศาล ทนายฝ่ายโจทก์ โดยศาลจะอ่านฟ้องและอธิบายคำฟ้องให้ฟัง โดยจะถามว่า จำเลยกระทำความผิดหรือไม่ และสอบถามแนวทางในการต่อสู้คดี เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
  2. วงเงินประกันตัว สามารถตรวจสอบได้จากคำฟ้องและมูลค่าความเสียหาย โดยทั้งนี้หากท่านมีทนายความ สามารถให้ทนายความสอบถามกับฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศาลนั้นและทำเรื่องขอประกันตัวล่วงหน้าได้ แต่ถ้าไม่มีทนายความ ก็สามารถติดต่อกับประชาสัมพนธ์โดยบอกข้อหาและความเสียหาย เจ้าหน้าที่ศาลจะมีตารางเปรียบเทียบวงเงินประกันและแจ้งจำนวนเงินและหลักเกณฑ์ให้
  3. การฟ้องคดีในประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา ส่วนมากหากไม่ใช่เรื่องฟ้องผิดศาล หรือพิมพ์ฟ้องไม่เรียบร้อย ศาลจะรับฟ้องไว้ก่อนเสมอ หากมีการพิจารณาคดีในลักษณะการสืบพยานแล้ว ศาลจะวิเคราะห์จากพยานหลักฐานของโจทก์และของจำเลย แล้วชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน หากฝ่ายใดนำสืบได้ดีกว่า ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE