ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 กำหนดให้แบ่ง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ออกเป็น ประเภท คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ เรียกว่า “สินส่วนตัว” กับ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิร่วมกัน ระหว่างคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเรียกว่า “สินสมรส” เป็นสินส่วนตัวกับสินสมรสนี้ มีอยู่ตราบเท่าที่การสมรสยังคงดำรงอยู่ หากการสมรสสิ้นสุดลงระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ย่อมสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ เช่น สามีภริยาหย่าขาดจาดดัน แต่ยังมิได้แบ่งที่ดินแลัรถยนต์ที่เป็นสินสมรส ดังนี้ ที่ดินและรถยนต์ดังกล่าว สิ้นสภาพจากการแบ่งสินสมรส เป็นเพียงทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิรวมธรรมดาของชายและหญิง ซึ่งแต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งส่วนเท่ากันในอายุความ 10 ปี เท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 4561/2544 หย่ากันแล้ว แต่ยังมิได้แบ่งที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรส ถือว่าที่ดินและบ้านเป็นกรรมสิทธิรวม
1.สินส่วนตัว มาตรา 1471 แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1.1 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรสนี้ ไม่ว่าจะมีราคาเท่าใด ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่มีหลักฐานทางทะเบียนหรือไม่ เหล่านี้ เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่เป็นเจ้าของทั้งสิ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีการตกลงกันไว้ก่อนสมรสว่า ให้เป็นสินส่วนตัว นอกจากนี้ในกรณีที่ชายและหญิงมีทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิรวม ต่อมาชายและหญิงที่จดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิรวมนี้ ก็ต้องเป็นสินส่วนตัวของสามีและภริยาโดยเป็นกรรมสิทธิรวมได้ เช่น ชายและหญิง รับราชการ เป็นคู่หมั้นกัน ร่วมกันผ่อนค่าเรือนหอคนละครึ่ง หมั้นได้ 3 ปี และผ่อนเรือนหอเรียบร้อยแล้วต่อมาทำการสมรสกัน เช่นนี้ เรือนหอหลังนี้ ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของชายและหญิงคนละครึ่ง
ในกรณีที่นำสินส่วนตัวและสินสมรสมาผสมกัน เช่น สินส่วนตัวเป็นที่ดินเอาเงินสินสมรสไปถมดินให้สูงขึ้น ที่ดินแปลงนี้ ยังคงเป็นสินส่วนตัวอยู่นั่นเอง เพราะหลักในเเรื่องส่วนควบผู้มีกรรมสอทธอในทรัพย์สินที่เป็นประธานก็มีกรรมสิทธิในบรรดาส่วนควบทั้งหลายของทรัพย์นั้น ตามที่บัญยัติไว้ในมาตรา 144 แต่อย่างไรก็ดี ในทั้งสองกรณี ถ้าหากสามีภริยาหย่าขาดจากกัน ก็ต้องมีการชดใช้สินสมรสที่ขาดหายไป สินสมรสส่วนที่มาถมดินนั้นให้ชดใช้ตามมาตรา 1534 ถือว่า เป็นการจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ถ้าที่ดินเป็นสินส่วนตัวของสามี หลังสมรสแล้ว สามีกับภริยาร่วมกันปลูกสร้างอาคาร โดยสามียินยอมให้ใช้ที่ดินปลูกสร้าง กรณีเข้าข้อยยกเว้น ตามมาตรา 146 อาคารจึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน แต่เป็นสินสมรส (ฎีกา 13964/2558)
การที่ชายหญิง อยู่กินฉันสามีภริยาแล้วมาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส เป็นกรรมสิทธิรวมของบุคคลทั้งสองคน คนละครึ่ง จึงเป็นส่วนตัวของสามีครึ่งหนึ่ง และสินส่วนตัวของภริยาอีกครึ่งหนึ่ง และภริยาร่วมกันออกเงินส้รางบ้านแล้วจึงจดทะเบียนสมรสกัน บ้านเป็นสินส่วนตัวของสามีภริยาทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ปรากฎว่าได้ออกเงินสร้างบ้านกันเป็นสัดส่วนเท่าใด ต้องสันนิษฐานตามกฎหมาย ว่ามีส่วนแบ่งที่เท่ากันคนละครึ่งเมื่อหย่า แต่หากรู้สัดส่วนในการออกเงิน ก็ต้องเป็นไปตามสัดส่วนนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 6827/2537 ชายหญิงอยู่กินด้วยกันก่อน หลังจากนั้นจึงจดทะเบียนสมรส ที่ดินที่ซื้อมา ระหว่างสมรสเป็นกรรมสิทธิรวม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1776/2558 สามีภริยาร่วมกันกู้เงินพร้อมทาวเฮาส์ก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินพร้อมทาวเฮาส์จึงเป็นสินส่วนตัวคนละครึ่ง การเอาที่ดินพร้อมทาวเฮาส์ไปจำนอง แล้วผ่อนชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองมาในภายหลัง ไม่ทำให้ที่ดินพร้อมทาวเฮาส์กลายเป็นสินสมรส
คำพิาพากษาฎีกาที่ 2851/2561 ที่ดินที่ได้มาก่อนสมรส แม้จะออกโฉนดหลังสมรสแล้ว ที่ดินก็ยังเป็นสินส่วนตัว
1.2 ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
เครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับกายตามควรฐานะของสามีภริยา ทรัพย์สินเหล่านี้ แม้จะได้มาระหว่างสมรสโดยเอาเงินสินสมรสไปซื้อหามาก็ตาม ถือว่าเป็นสินส่วนตัว เครื่องใช้สอยส่วนตัว หมายถึง สิ่งของที่สำหรับใช้ส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของโดยเฉพาะ โดยไม่ปะปนกับคนอื่น เช่น แว่นตา ฟันปลอม ผ้าเช็ดตัว นาฬิกา
เครื่องแต่งกาย หมายถึง สิ่งของที่ใช้สวมใส่ร่างกายเพื่อการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ เช่น เสื้อ กางเกง กระโปรง เข็มขัด หมวก กระเป๋าถือ ฯ
เครื่องประดับ หมายถึง สิ่งของที่ใช้ตกแต่งร่างกายเพื่อความสวยงาม เช่น แหวน กำไล ต่างหู สายสร้อย เข็มขัด
หากราคาของสินส่วนตัวเหล่านี้มีราคาตามสมควรแก่ฐานะจึงจะเป็นสินส่วนตัว เพราะซื้อหามาด้วยเงินสมรส ถ้าเกินฐานะแล้ว แม้จะเป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว ต้องถือว่าเป็นสินสมรส เช่น สามีริยามีฐานะค่อนข้างยากจน ภริยาเอาเงิน 8,000 บาท ไปซื้อแหวนทองมา 1 วง แหวนทองถือว่าเป้น สินส่วนตัวของภริยาได้ แต่ถ้าซื้อแหวนในราคา 100,000 บาท เช่นนี้เห็นได้ว่า แหวนเพชรวงนี้ จะถือเป็นเครื่องประดับกาย แต่เกินสมควรแก่ฐานะแหวนเพชรนี้ ก็ถือว่าเป็นสินสมรส เพราะซื้อมาด้วยเงินสินสมรสนั่นเอง
เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพของคู่สมรส หมายถึง สิ่งของใช้สำหรับทำงาน ไม่ว่าจะใช้โดยกำลังมนุษย์ หรือโดยกำลังเครื่องจักรกลก็ตาม เช่น จอบ เสียม เครื่องสูบน้ำ รถไถ ฯลฯ แม้เครื่องมือเหล่านี้จะได้มาระหว่างสมรส โดยเอาเงินสินสมรสไปซื้อมาก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัว แต่ทั้งนี้ จำกัดแต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพเท่านั้น เช่น สามีประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ เอาเงินสินสมรสไปซื้อเครื่องมือถอนฟัน ถือว่าเครื่องมือเหล่านี้เป็นอุปกรณ์จำเป็นในการประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ จึงเป็นสินส่วนตัว แต่ถ้าสามีเอาเงินไปซื้อรถยนต์เพื่อขับไปคลินิก จะอ้างว่ารถยนต์เป็นสินส่วนตัวไม่ได้ เพราะรถยนต์ไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 812/2533 สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็มขัด เป็นเครื่องประดับรวมกันประมาณ 67,210 บาท นับว่าเป็นราคาไม่มาก เพื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของคู่สมรส จึงเป็นเครื่องประดับกายตามสมควรแก่ฐานะของ ล. ผู้เป็นภริยา แม้ ล. จะได้มาโดยสามีเป็นผู้หามาให้ หรือตนหามาเองในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของ ล.
คำพิพากษาฎีกาที่ 3666-3667/2535 สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท และพระเลี่ยมทอง 10 องค์ เป็นเครื่องประดีบกายตามควรแก่ฐานะ แม้สามีจะซื้อให้ภริยาในระหว่างสมรสก็ตาม ก็เป็นสินส่วนตัวของภริยา
1.3 ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดก หรือการให้โดยเสน่หา
ระหว่างการสมรส ถ้าสามีหรือภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากญาติพี่น้อง ไม่ว่าจะเป็นฐานะทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม หรือบิดามารดาหรือบุคคลอื่น ใด ยกทรัพย์สินให้โดยเสน่หา ทรัพย์สินเหล่านี้ ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา ผู้ที่ได้รับมาทั้งสิ้นไม่ถือว่าเป็นสินสมรส ทั้งๆ ที่ได้มาระหว่างสมรส เช่น ระหว่างสมรสสามีได้รับมรดก 10 ล้านบาท เงินจำนวนนี้เป็นสินส่วนตัวของสามี หรือระหว่างสมรสมารดาของภริยายกแหวนเพชร 10 วงให้แก่ภริยา แหวนเพชร 10 วงนี้ เป็นสินส่วนตัวของภริยา นอกจากนี้ทรัพย์สินที่สามีภริยายกให้แก่กันนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นสินส่วนตัวของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย เช่น สามียกที่ดินสินส่วนตัวให้ภริยา ที่ดินแปลงนี้ เคยเป็นสินส่วนตัวของสามีแต่กลับมาเป็นสินส่วนตัวของภริยาได้
1.4 ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
สินส่วนตัวชนิดนี้ มีได้แต่เฉพาะของภริยาเท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วของหมั้น เป็นกรรมสิทธิของหญิงตั้งแต่เมื่อชายได้ส่งมอบให้หญิงมาแล้ว จึงเป็นทรัพย์สินที่หญิงมีอยู่ก่อนแล้ว ก่อนสมรส อันเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471(1) อยู่แล้ว
สรุป ตามมาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้ถือว่าเป็นสินสมรส เว้นแต่มีข้อยกเว้นตามมตรา 1471 ที่แม้ได้มาระหว่างสมรส แต่ยังถือว่าเป็นสินส่วนตัว
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE