ผลแห่งการทำกลฉ้อฉล

https://pantip.com/topic/37108373

ผลแห่งการทำกลฉ้อฉล

เมื่อมีการทำกลฉ้อฉลเกิดขึ้น ผลแห่งการทำกลฉ้อฉล เป็นดังนี้

     1.ผลต่อคู่กรณี กรณีกลฉ้อฉลถึงขนาด การแสดงเจตนาเฉพาะกลฉ้อฉลถึงขนาด นั้น นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 วรรค 1 ส่วนหนึ่งกรณีกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ กลฉ้อฉลเพื่อเหตุเป็นการจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับเอาข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่เขาจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจึงมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ต้องเสียหายเพราะเหตุที่ต้องรับเอาข้อกำหนด หรือภาระที่เพิ่มขึ้น โดยผู้ถูกกลฉ้อฉล ไม่สามารถที่จะบอกล้างนิติกรรม ตามาตรา 161 ดังนั้น นิติกรรม อันเกิดจากกลฉ้อฉลเพื่อเหตุ คู่กรณีแต่ละฝ่ายจึงต้องผูกพันตามนิติกรรมที่ได้กระทำนั้น เพียงแต่คู่กรณีผู้ถูกกลฉ้อฉลนั้น มีสิทธิเพียงเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่คู่กรนณีอีกฝ่ายได้ทำกลฉ้อฉลแก่ตนเท่านั้น

     2. ผลแห่งการทำกลฉ้อฉล ต่อบุคคลภายนอก การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลตามมาตรา 159 ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้ต่อบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ตามมาตรา 160 การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลอาจมีผลกระทบถึงบุคคลภายนอก เช่น บุคคลภายนอกได้รับโอนทรัพย์จากบุคคลผู้ทำกลฉ้อฉลที่ได้ทรัพย์นั้นมา กรณีบุคคลภายนอกสุจริตโดยไม่ทราบถึงการได้ทรัพย์ ของผู้โอนว่าเกิดเพราะเหตุกลฉ้อฉลบุคคลภายนอกผู้รับโอนทรัพย์ก็ไม่จำต้องคืนทรัพย์นั้นแก่ผู้บอกล้างเพราะถูกกลฉ้อฉลนั้นแต่อย่างใด

ข้อสังเกตุ

  1. มาตรา 160 เป็นการคุ้มครองของบุคคลภายนอก สำหรับกรณีบอกล้างโมฆียะกรรม เพราะถูกกลฉ้อฉลเท่านั้น และบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครอง ต้องเป็นผุ้กระทำการโดยสุจริตเท่านั้น โดยไม่คำนึงว่าบุคคลภายนอกจะเสียค่าตอบแทนหรือเสียหายด้วยหรือไม่ หากบุคคลภายนอกไม่สุจริต แม้จะเสียค่าตอบแทนหรือเสียหายก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
  2. สำหรับการคุ้มครองบุคคลภายนอก เนื่องจากโมฆียะกรรมในกรณีอื่นๆ เช่น เพราะคู่กรณีบกพร่องเรื่องความสามารถ สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์ หรือเพราะถูกข่มขู่ เหล่านี้ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 160 เเต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฆ์ มาตรา 1329 ซึ่งมีความแตกต่างจากมาตรา 160 กล่าวคือ บุคคลภายนอกที่จะได้รับความคุ้มครองนอกจากจะต้องกระทำโดยสุจริตแล้ว ยังต้องเสียค่าตอบแทนอีกด้วย
  3. ความสำคัญผิดกับกลฉ้อฉล การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด เป็นการแสดงเจตนาที่เกิดจากตัวผู้แสดงเจตนาเอง มิได้เกิดจากบุคคลอื่นหลอกลวง การสำคัญผิดในสาระสำคัญเป็นโมฆะ ส่วนการสำคัญผิดในคุณสมบัติเป็นโมฆียะ แต่การแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉลเป็นการแสดงเจตนาที่ เกิดจากการที่ผู้อื่นหลอกลวง จึงแสดงเจตนาออกมา การแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะเสมอ เว้นแต่กลฉ้อฉลนั้น ไม่ถึงขนาดให้ผู้แสดงเจตนาหลงเชื่อ ย่อมไม่มีผลเป็นโมฆียะ

     ในบางกรณีการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิด ในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งยนิตกรรมอาจเกิดจากกลฉ้อฉลของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นนี้จะเห็นได้ว่า การแสดงเจตนานั้นเกิดขึ้นทั้งจากการสำคัญผิด และกลแ้อฉลในขณะเดียวกัน หากปรับว่าเป็นเรื่องกลฉ้อฉล การแสดงเจตนานั้น ก็ตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 159 แต่ถ้าปรับว่า เป็นเรื่องสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม นิติกรรมนั้น ก็ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 156

     คำพิพากษาฎีกาที่ 6103/2545 เมื่อนิติกรรมซื้อขายที่ดิน เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม และเกิดจากกลฉ้อฉลในขณะเดียวกัน แต่ผลทางกฎหมายต่างกัน กล่าวคือ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิตกรรม มีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนา เพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมเป็นโมฆะ เพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

สรุป กลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลเช่นนั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เข้าทำนิติกรรมด้วย

     ถ้าบุคคลภายนอกทำกลฉ้อฉลให้แสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาจะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น และกรณีนี้หมายถึงการแสดงเจตนาทำนิติกรรม 2 ฝ่าย เท่านั้น ถ้าเป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมฝ่ายเดียว แม้คู่กรณีอีกฝ่ายจะไม่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉล นิติกรรมก็ตกเป็นโมฆียะ

     กรณีบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองต้องเป็นผู้กระทำการโดยสุจริตเท่านั้น ทั้งนี้ ไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลภายนอกจะเสียค่าตอบแทนด้วยหรือไม่ ตามมาตรา 160 ซึ่งแตกต่างกับโมฆียะกรรมในกรณีอื่นๆ เช่น บกพร่องเรื่องความสามารถ สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน หรือถูกข่มขู่ เพราะบุคคลภายนอกที่จะได้รับความคุ้มครองนอกจากจะต้องสุจริตและยังต้องเสียค่าตอบแทนอีกด้วย มาตรา 1329

     กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ คือ กลฉ้อฉลที่ไม่ถึงขนาด ที่จะไม่ทำนิติกรรมเลย เพียงแต่จูงใจให้อีกฝ่ายยอมรับข้อกำหนดที่หนักขึ้นกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างไม่ได้ แต่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากกลฉ้อฉลได้

     ในนิติกรรม 2 ฝ่าย ถ้าคู่กณีฝ่ายใดมีหน้าที่ควรบอกความจริง แต่กลับจงใจนิ่งเาสีย ไม่แจ้งข้อความจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ การนิ่งนั้น จะเป็นการฉ้อฉล หากพิสูจน์ได้ว่าถ้ามิได้มีการนิ่งเช่นนั้น นิติกรรมคงจะไม่เกิดขึ้น

      กรณีคู่กรณีจะต่างกระทำการโดยกลฉ้อฉลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะกล่าวอ้างกลฉ้อฉลของอีกฝ่ายเพื่อบอกล้างนิติกรรม หรือเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ แม้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย จะได้ทำกลฉ้อฉลต่างประเภทกัน โดยฝ่ายหนึ่งทำกลฉ้อฏลถึงขนาดอีกฝ่ายหนึงทำกลฉ้อฉล เพื่อเหตุก็ตาม

     บางกรณีการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมอาจเกิดจากกลฉ้อฉลของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาจึงเกิดจากการสำคัญผิดและกลฉ้อฉลในขณะเดียวกัน ต้องปรับเป็นเรื่องสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม ซึ่งนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ เพราะหากปรับเป็นเรื่องกลฉ้อฉล การแสดงเจตนาจะตกเป็นเพียงโมฆียะ

อ่านหลักบททั่วไป กลฉ้อฉล

อ่านหลักบททั่วไป การแสดงเจตนาโดยกลฉ้อฉล

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE