พรากเด็กไม่เกิน 15 ปี ไปที่ห้องพักโดยเด็กยินยอม

https://pantip.com/topic/41603966

พรากเด็กไม่เกิน 15 ปี ไปที่ห้องพักโดยเด็กยินยอม หรือพรากผู้เยาว์

สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี เป็น สำนักงานทนายความ ทนายความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ครับ ให้บริการปรึกษาคดี วางแผนทางคดี ให้คำแนะนำเบื้องต้นด้านกฎหมาย คดีอาญา คดีแพ่ง คดีครอบครัว คดีที่ดิน คดีก่อสร้าง ฯลฯ สำนักงาน กฎหมาย มีบทความเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับการ พรากเด็กไม่เกิน 15 ปี ไปที่ห้องพัก โดยเด็กยินยอม หลักเกณฑ์จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามกันได้เลยครับ

          ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

คำว่า “พราก” ตามพจนานุกรม หมายความว่า เอาไป หรือพาไป หรือ แยกเด็กออกจากความชอบธรรมของผู้อื่นที่ปกครองดูแลเด้ก การชักชวนและเด็กไปโดยสมัครใจก็เป็นพรากอย่างหนึ่ง

          ฉะนั้น การพราก จึงไม่จำกัดวิธี ตามมาตรา 317 เพราะมีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิได้ให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองของผู้ดูแล โดยไม่จำกัดว่าจะกระทำโดยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล

คำพิพากษาฎีกาที่ 2858 / 2540 การกระทำของจำเลยแม้จะพลาดไปเพียงชั่วคราวแต่ก็ไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาทั้งไม่ปรากฏว่าการภาคดังกล่าวมีเหตุสมควรประการใดจึงถือว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคหนึ่ง

          องค์ประกอบข้อ 1. การกระทำความผิดตามมาตรา 317 จะต้องปรากฏว่าผู้ถูกกระทำเป็นเด็กมีอายุไม่เกิน 15 ปีเด็กจะยินยอมหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุนี้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยต้องทราบถ้าจำเลยไม่ทราบจะถือว่าจำเลยมีเจตนาภาคเด็กอายุเกิน 15 ปีไม่ได้

แต่บัดนี้ได้มี มาตรา 321 / 1 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า การ กระทำความผิดตามมาตรา 312 ตรี วรรคสอง และมาตรา 317 หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปีห้ามอ้างความไม่รู้อายุของเด็กเพื่อให้ผลความผิดนั้น

จะเป็นความผิดเด็ก ต้องอยู่ในความดูแลและหมายถึงผู้ดูแลตามความเป็นจริงด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 2155 / 2514 การพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั้นหมายความว่าพาไปหรือแยกผู้เยาออกจากความดูแลของบิดามารดาผู้ปกครองผู้ดูแลโดยผู้เยาจะต้องอยู่ในการปกครองของบุคคลดังกล่าวแล้วในขณะที่พรากไป

คำพิพากษาฎีกาที่ 4523/ 2554 คำว่าบิดามารดาหรือผู้ดูแลหมายความถึงบิดาหรือผู้ดูแลตามความเป็นจริงด้วย

          องค์ประกอบข้อ 2. ต้องเป็นการพรากไปโดยปราศจากเหตุอันสมควรจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแล

คำพิพากษาฎีกาที่ 398 / 2517 บิดาพรากบุตรนอกสมรสไปเสียจากการปกครองของมารดาเพื่อการอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาการกระทำโดยมีเจตนาดีต่อบุตร เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317

คำพิพากษาฎีกาที่ 2879 / 2540 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปนั้นจำเลยมีความประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้เสียหายดังนั้นการที่จำเลยพาผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 14 ปีเศษจากกรุงเทพมหานครไปอำเภอสามพรานและได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเพื่อการอนาจารโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

          มีปัญหาว่าถ้าจำเลยพาไปเป็นภรรยาโดยเด็กเต็มใจไปด้วยนั้น เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรกหรือไม่เป็นความผิดเลย เพราะถือว่าเป็นการพาไปโดยมีเหตุอันสมควร.??? เห็นว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่กลับเพื่ออนาจารหรือไม่น่าจะเป็นคนละเรื่องกัน

          องค์ประกอบข้อ 3. คือ เจตนา

เจตนาในที่นี้คือเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าเป็นการพรากเด็ก รวมทั้งรู้ข้อเท็จจริงว่าเด็กนั้นอายุไม่เกิน 15 ปี ดูมาตรา 59 วรรคสามและมาตรา 321 / 1 ประกอบ

สรุป พรากเด็กไม่เกิน 15 ปี ไปที่ห้องพักโดยเด็กยินยอม แม้เด้กจะยินยอมก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปี ถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE