พินัยกรรมต้องทำตามแบบ มีกฎหมายหลายฉบับที่ระบุไว้ว่า เพื่อให้นิติกรรมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หนึ่งในนั้นก็คือการทำพินัยกรรม ซึ่งกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า การทำพินัยกรรมต้องทำตามแบบ ซึ่งพินัยกรรมมีแบบเขียนเองทั้งฉบับ แบบพินัยกรรมฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบธรรมดา พินัยกรรมแบบเอกสารลับ และพินัยกรรมด้วยวาจา
พินัยกรรมต้องทำตามแบบ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1648 และ 1655
ข้อกำหนดพินัยกรรม
ข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของพินัยกรรม ที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในพินัยกรรม ซึ่งอาจแยกเป็นส่วนๆ ได้ ในพินัยกรรมแต่ละฉบับ อาจมีข้อกำหนดพินัยกรรมข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ บางข้ออาจมีผลใช้บังคับ บางข้ออาจไม่มีผล แต่ถ้าพินัยกรรมเสียไปทั้งฉบับแล้ว ข้อกำหนดทุกข้อ ย่อมตกไปด้วย เช่น นายแสงทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ระบุยกที่ดินโฉนดเลขที่ 111 ให้นายสียกรถยนต์ให้นางสวย ยกสร้อยคอทองคำให้นายเสริม
เช่นนี้ เป็นพินัยกรรมฉบับเดียวแต่มีข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็น 3 ข้อ หากพินัยกรรมฉบับนี้ นางสวยลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม นางสวยย่อมไม่อาจรับมรดกได้เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้” ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ที่ยกให้นางสวย ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1653 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 1705 ส่วนข้อกำหนดพินัยกรรมส่วนอื่นๆให้ใช้บังคับได้ มิได้ทำให้พินัยกรรมเสียไปทั้งฉบับ เพราะมาตรา 1705 บัญญัติว่า “พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้น ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1653 ย่อมเป็นโมฆะ”
จึงหมายความว่า เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งเกี่ยวกับผู้ลงชื่อเป็นพยานเท่านั้น นายสี่และนายเสริม ยังคงได้รับทรัพย์มรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ส่วนรถยนต์ซึ่งนางสวยไม่ได้รับ เฉพาะข้อกำหนดพินัยกรรมส่วนนี้ตกเป็นโมฆะจึงกลับเข้าสู่กองมรดกของเจ้ามรดก เพื่อจะนำให้ปันแก่ทายาทโดยธรรมต่อไป หากนางสวยเป็นทายาทโดยธรรม ที่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคนหนึ่ง นางสวยก็ยังมีสิทธิได้รับรถยนต์นั้นในฐานะทายาทโดยธรรม แต่จะต้องเป็นไปตามส่วนที่กฎหมายกำหนด ในกรณีเจ้ามรดกที่มีทายาทโดยธรรมหลายคน แทนที่จะได้รับคนเดียวตามพินัยกรรม
แต่หากพินัยกรรมฉบับนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ลง วัน/เดือน/ปี ที่ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะไม่อาจใช้บังคับได้ทั้งฉบับ เพราะทำไม่ถูกต้องตามแบบ ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ทั้งนายสี นางสวย นายเสริมและนายสม ไม่อาจเรียกเอาทรัพย์มรดกนั้นในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 730 / 2489 การที่ผู้รับพินัยกรรมลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมนั้น ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะทั้งฉบับ คงตกเป็นโมฆะเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับพยานคนนั้น
การทำพินัยกรรม ใช้เอกสารอะไรบ้าง
หากผู้ที่จะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายของตนเองนั้น มีความประสงค์จะทำพินัยกรรมโดยให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตรับรองนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการติดต่อเจ้าหน้าที่ ดังนี้
1. บัตรประชาชนของผู้ทำพินัยกรรม
2. หนังสือ หรือหลักฐายแสดงกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม
3. ใบรับรองแพทย์
4. พยานบุคคลเพื่อลงลายมือชื่อเป็นพยาน อย่างน้อย 2 คน
สรุป พินัยกรรมต้องทำตามแบบ โดยทำเป็น หนังสือพินัยกรรม ในสังคมไทยส่วนมาก จะทำพินัยกรรมให้ลูก ฉะนั้น พินัยกรรมจึงเป็นการกำหนดเผื่อตาย ของผู้ทำพินัยกรรม ต้องเขียน วัน เดือน ปี ลงลายมือชื่อทั้งผู้ทำพินัยกรรมและผู้ที่เป็นพยานด้วย
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomakdee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE