รวมคำถามจากกระทู้ Pantip EP1
สมาชิกกระทู้พันทิป ถามว่า “แม่ยกที่ดินให้หลาน ลูกฟ้องได้ไหม”
การที่จะยกทรัพย์สินให้ใครๆได้นั้น สิ่งแรกต้องคำนึงเลยคือ คนยกให้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือไม่ หากไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินในขณะยกให้ การกระทำยกให้ก็ไม่เป็นผล สมมติว่า ทรัพย์สินและที่ดินเป็นของแม่ หากวันหนึ่งแม่เสียชีวิตลง มรดกทั้งหลายจะตกแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ ซึ่งหนึ่งในผู้มีสิทธิรับมรดกโดยอัตโนมัติ คือ บุตรของผู้ตาย
แต่กฎหมายก็ได้เปิดช่องทางไว้ให้ว่า หากเจ้ามรดก อยากกำหนดยกทรัพย์สิน กำหนดการเผื่อตายไว้ว่าจะยกทรัพย์ และสิทธิต่างๆไว้ให้กับผู้ใด ก็ให้ทำออกมาในรูปแบบของ พินัยกรรม ดังนั้น หากแม่ทำพินัยกรรมยกให้หลาน แม่สามารถทำได้ทันที และเมื่อแม่เสียชีวิตลง หลานก็มีสิทธิได้รับมรดกโดยทันทีตามพินัยกรรม หากผู้เป็นลูกตามกระทู้ ต้องการฟ้องแบ่งมรดกจากหลาน ก็คงต้องดูข้อเท็จจริงและรายละเอียดของเรื่องว่า สามารถทำได้หรือไม่
หากแม่ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้หลานแค่เพียงบางส่วน และยังมีบางส่วนที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกไว้ให้ใคร บุตรก็สามารถได้รับพินัยกรรมในส่วนที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ครับ
กรณีตามคำถาม แม่ของเจ้าของกระทู้ยกให้หลานไปแล้วขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่ถือว่า ที่ดินเป็นทรัพย์มรดก แต่เป็นทรัพย์ที่ดินที่ให้โดยเสน่หา มีการจดทะเบียนโอนกันที่สำนักงานที่ดินเป็นที่เรียบร้อย กรรมสิทธิในที่ดินโอนไปยังหลานเรียบร้อยแล้ว แม้ภายหลังแม่เจ้าของกระทู้เสียชีวิตลงแล้ว ก็ไม่เป็นทรัพย์มรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทได้อีก เจ้าของกระทู้จึงไม่อาจจะฟ้องในลักษณะขอแบ่งทรัพย์มรดกกับหลานได้
แต่ทรัพย์สินอื่นๆของแม่ ที่ยังไม่ได้ทำพินัยกรรม หรือยังไม่ได้โอนให้กับบุคคลใด ยังถือเป็นทรัพย์มรดกอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามส่วนให้กับทายาททุกคนในส่วนที่เท่ากัน
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE
สมาชิกกระทู้พันทิป ถามว่า “หลักเกณฑ์ของการอยู่กินกัน ฉันสามีภริยา โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นแบบไหน” ซึ่งต้องบอกว่า การอยู่กินกันฉันสามีภริยา ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติหลักเกณฑ์ใดๆ เอาไว้ แต่อาศัยพฤติการณ์ความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันระหว่างกัน ดังนั้น จึงขอตอบคำถามเป็นข้อๆ ดังนี้
1.การอยู่กินกันฉันสามีภริยา ต้องมีสัญญาหรือไม่ หรือต้องมีอะไรรวมกัน
ตอบ การอยู่กินกัน ฉันสามีภริยา ไม่ต้องมีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ เพียงแต่มีเจตนาที่อยู่กันด้วยความรัก เจ็บป่วยก็พาไปหาหมอ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่างๆ ดังเช่นปกติตามทำนองคลองธรรม
2.ต้องอยู่ด้วยกันกี่ปี กี่เดือน กี่วัน
ตอบ หากเจตนาอยู่ด้วยกันอย่างเช่นสามีภริยา ก็ถือว่าอยู่ด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว ส่วนจะอยู่ด้วยกันกี่วันจะเข้าหลักเกณฑ์นั้น อาจจะต้องรอให้มีคำวินัจของหน่วยงานรัฐหรือของศาลต่อไป แต่จากความเห็นส่วนตัวของ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี อาจจะต้องอยู่สักช่วงเวลาหนึ่งโดยอาจประมาณไว้ 3 เดือนขึ้นไปก็น่าจะเพียงพอกับคำนิยามการอยู่กินร่วมกัน
3.ต้องมีลูกด้วยกันไหม
ตอบ ไม่จำเป็นต้องมีลูกด้วยกัน เนื่องจากการอยู่กินกันฉันสามีภริยาเพียงแค่ 2 ฝ่ายเท่านั้น ก็สมบูรณ์ตามข้อสันนิษฐานแล้ว การมีบุตร มีทายาท เป็นเพียงองค์ประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ความเป็นครอบครัว สมบูรณ์มากขึ้น และอีกอย่าง ในยุคสมัยที่เปิดกว้างของเพศทางเลือก หากอยู่ด้วยกันก็อาจจะเข้าหลักเกณฑ์การอยู่กินกันฉันฑ์สามีภริยาได้ หากมีเจตนาอยู่ด้วยกันอย่างนั้น
4. เวลายื่นกู้ซื้อบ้าน ในช่วงสถานะ ให้ระบุ โสด หรือสถานะแบบใด
ตอบ ส่วนมากสถาบันการเงิน หากทราบว่า มีการอยู่กินกันฉันสามีภริยา สถาบันการเงินมักจะให้ระบุว่า เป็นคู่สมรสโดยยังมิได้จดทะเบียน เป็นผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน หรือเนื้อความอื่นใดในทำนองเดียวกัน เพราะเหตุผลของการกระจายความเสี่ยงในการทำสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เท่านั้นเอง เพราะหากผู้กู้หลักผิดนัดชำระหนี้ ทางสถาบันการเงินก็สามารถมาฟ้องเอากับคู่สมรสในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือในฐานะลูกหนี้ร่วมได้
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE
สมาชิกกระทู้ Pantip ได้ตั้งคำถามเข้ามาว่า
“ยายเอาที่ดินไปจำนองแล้วไม่มีเงินไถ่ถอนออกมา แต่แม่ผู้ตั้งกระทู้ไปไถ่ถอนที่ดินคืนมา โดยที่ดินโฉนดนี้ก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อของแม่ผู้ตั้งกระทู้ แต่ตอนนี้ น้องสาวแม่ได้เรียกร้องให้แม่แบ่งที่ดินตรงนี้ อยากทราบว่า สามารถฟ้องร้องได้หรือไม่”
ตอบ เมื่อไล่เรียงข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างมานั้น พอจะสรูปข้อเท็จจริงได้ว่า การที่ยายนำที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวไปจำนอง ยังถือว่า กรรมสิทธิยังเป็นของยายอยู่ในขณะที่ยังมีสิทธิไถ่ถอน แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่า แม่เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองโดยใส่เป็นชื่อแม่ในโฉนดที่ดิน จึงถือว่า แม่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และตามกระทู้ยังไม่ปรากฎว่า แม่ใช้สิทธิไม่สุจริตอย่างไรในการไถ่ทรัพย์นั้นมา จึงต้องถือว่า แม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดแต่เพียงผู้เดียว สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ และหากแม่ ยังมีสามีที่จดทะเบียนสมรสด้วยแล้ว การจำหน่าย จ่าย โอน ก็ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้แล้ว น้าจึงไม่มีสิทธิมาเรียกร้องขอแบ่งโฉนดได้อีก เนื่องจากไม่ใช่ทรัพย์สินของยายแล้ว เว้นแต่ แม่จะตกลงกันแบ่งให้น้าในลักษณะ ให้โดยเสน่หาครับ
สรุป รวมคำถามจากกระทู้ Pantip EP1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ดินในหลายๆแง่มุมคำตอบ และปัญหาเบื้องต้น ส่วนท่านใดมีปัญหาทางด้านกฎหมาย อยากปรึกษาหรือถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว หรือหากไม่ได้รับความเป็นธรรมทางด้านกฎหมาย
ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE