สัญญาค้ำประกัน

https://pantip.com/topic/36518330

สัญญาค้ำประกัน

สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี เป็น สำนักงานทนายความ ทนายความ รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ครับ ให้บริการปรึกษาคดี วางแผนทางคดี ให้คำแนะนำเบื้องต้นด้านกฎหมาย คดีอาญา คดีแพ่ง คดีครอบครัว คดีที่ดิน คดีก่อสร้าง ฯลฯ สำนักงาน กฎหมาย มีบทความเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับ สัญญาค้ำประกัน หลักเกณฑ์จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามกันได้เลยครับ

  สัญญาค้ำประกัน ไม่มีแบบ แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
1. สัญญาค้ำประกัน จะต้องทำเป็นหนังสือ มาตรา 680 วรรค 2 บัญญัติว่า “อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

     กฎหมายไม่ได้บัญญัติเรื่องแบบของสัญญาค้ำประกันไว้ ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจะทำเป็นหนังสือหรือจะตกลงกันด้วยวาจาก็ได้ กฎหมายบังคับเพียงว่า ถ้าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาค้ำประกัน จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน และน่าจะมีความหมายรวมถึง การยกขึ้นต่อสู้คดีว่ามีการค้ำประกัน ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันด้วย แต่เจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน

     2. หลักฐานเป็นหนังสือ หลักฐานที่ใช้ในการฟ้อง ไม่จำเป็นต้องทำไว้ต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง จะทำไว้ต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีเจตนาจะให้ใช้เป็นหลักฐานก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำในรูปแบบของสัญญา อาจจะเป็นจดหมาย บันทึกข้อความ รายงานการประชุม หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี

     อาจเป็นเอกสารฉบับเดียว หรือหลายฉบับซึ่งอ่านประกอบกันแล้วมีข้อความแสดงให้เห็นว่า ผู้ลงลายมือชื่อนั้น ผูกพันตนว่าจะชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

     ลายมือชื่อไม่จำเป็นต้องเป็นลายเซ็น อาจจะเป็นการเขียนด้วยลายมือหวัดแกมบรรจงก็ได้ ถ้าเป็นการเขียนโดยตั้งใจให้เป็นลายมือชื่อ จะเขียนหรือเซ็นโดยใช้ชื่อจริง หรือชื่อเล่นก็ได้ เช่นเดียวกับลายมือชื่อผู้กู้ในเรื่องกู้ยืม หลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวนี้ เ้จาหนี้และลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อในเอกสารนั้น แม้เอกสารระบุว่าเป็นหนังสือค้ำประกัน แต่มีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเพียงคนเดียว ไม่ปรากฎลายมือชื่อเจ้าหนี้ จึงเป็นเพียงหลักฐานในการค้ำประกันเป็นหนังสือตามมาตรา 680 วรรค 2 ไม่ใช่ สัญญาค้ำประกัน ที่ต้องปิดอากร

     3. ศาลยกฟ้องเพราะ สัญญาค้ำประกัน ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ฟ้องใหม่ไม่ได้ เพราะศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลย ไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน เมื่อมาฟ้องใหม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ

     หนี้ที่ค้ำประกันต้องเป็นหนี้อันสมบูรณ์ มาตรา 681 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “อันค้ำประกันนั้น จะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์” อย่างไรเป็นหนี้อันสมบูรณ์ต้องเป็นไปตามบรรพ 1 ในเรื่องละเมิดนั้น เมื่อมีการละเมิดหนี้ประธานนั้น ก็สมบูรณ์ การค้ำประกันหนี้ละเมิดจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับมาตรา 681 วรรคนึ่ง คงพิจารณาแต่เพียงว่าการละเมิดนั้น อยู่ในขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันหรือไม่เท่านั้น สำหรับการค้ำประกันหนี้ประธานที่มีมูลหนี้มาจากสัญญา จะมีปัญหาประการแรกว่า หนี้ประธานนั้นสมบูรณ์หรือไม่ ช่น สัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ประธานมีการแสดงเจตนาถูกต้องหรือไม่ วัตถุประสงค์ของสัญญาต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาได้กระทำถูกต้อวงตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามกฎหมายในบรรพ 1 ซึ่งเป็นบททั่วไป นอกจากนี้ เราจะต้องพิจารณาถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นบทเฉพาะของสัญญาแต่ละชนิดด้วย เช่น กู้ยืมเงิน ถ้าไม่มีการส่งมอบเงินที่กู้ สัญญากู้ยังไม่สมบูรณ์ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด เมื่อหนี้ประธานสมบูรณ์แล้ว จึงจะมีการค้ำประกันได้แล้ว จึงจะพิจารณาว่าการนั้น อยู่ในขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันหรือไม่

  1. หนี้ประธานไม่สมบูรณ์เพราะวัตถุประสงค์ของสัญญาต้องห้ามตามกฎหมาย ตัวอย่างหนี้ประธานไม่สมบูรณ์เพราะวัตถุประสงค์ของสัญญาต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช่น กู้ยืมเงินไปค่าฝิ่นเถื่อน สัญญากู้เป็นโมฆะ (ฎีกา 707/2487) ทำสัญญาว่าฝ่ายหนึ่ง ตกลงแบ่งที่ดินมรดกให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง โดยต้องไปถอนฟ้องคดีอาญาเป็นการตอบแทน เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นโมฆะ (ฎีกา 375/2537 , ฎีกา 4351/2548) แต่ถ้าตกลงให้ถอนคดีความผิดส่วนตัว ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย (ฎีกา 3780/2546)
  2. หนี้ประธานไม่สมบูรณ์เพราะสัญญาไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด เช่น สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียว ย่อมเป็นโมฆะ ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดตามสัญญาหาได้ไม่ ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดเพราะการค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ (ฎีกา 1800/2511 , ฎีกา 8703/2543)
  3. หนี้ประธานสมบูรณ์ แต่ขาดหลักฐานเป็นหนังสือ ในกรณีที่หนี้ประธานสมบูรณ์ แต่ขาดหลักฐานเป็นหนังสือตามที่กำหมายกำหนด เช่น กู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ผู้ให้กู้ส่งมอบเงินให้แล้ว สัญญากู้บริบูรณ์ แม้การกู้ยืมนั้น ไม่ได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือ และไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็มีการค้ำประกันหนี้รายนั้นได้ เจ้าหนี้อาจจะฟ้องผู้กู้ไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ถ้าการค้ำนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันได้ แต่ผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ของผู้กู้ซึ่งเป็นลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ ตามมาตรา 694
  4. ข้อตกลงของสัญญาค้ำประกันที่กฎหมายบังคับว่าต้องระบุ มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า “หนี้ในอนาคต หรือหนี้ที่มีเงื่อนไขจะประกันไว้ เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้น อาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้ แต่ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการ ก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เว้นแต่ เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวตามมาตรา 699 จะไม่ระบุระยะเวลาดังกล่าวก็ได้”

มาตรา 681 วรรคสาม บัญญัติว่า “สัญญาค้ำประกัน ต้องระบุหนี้หรือสัญญาที่ค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดเฉพาะหนี้หรือสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้น”

     หนี้ในอนาคต หมายถึง หนี้ที่อาจเกิดขึ้น โดยสมบูรณ์ในอนาคต เช่น หนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ในวันทีร่ลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ลูกหนี้อาจจะยังไม่เป็นหนี้ธนาคารก็ได้ ต่อมาเมื่อลูกหนี้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีนั้น และธนาคารยอมจ่ายเงินเกินกว่าที่มีในบัญชีไป หนี้ในส่วนนั้นก็สมบูรณ์ จึงมีการทำสัญญาค้ำประกันไว้ล่วงหน้าได้ การค้ำประกันหนี้ในอนาคตอีกชนิดหนึ่งที่มีขึ้นเสมอๆ คือ การค้ำประกันหนี้ค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการทำงานของลูกจ้าง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

https://pantip.com/topic/38532362

     คำพิพากษาฎีกาที่ 2718/2538 การค้ำประกันสามารถทำได้ทั้งเพื่อการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นเมื่อมีอยู่ก่อนแล้ว และหนี้ในอนาคต โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า ผู้ค้ำประกันได้รู้เห็นด้วยหรือไม่ในขณะที่ลูกหนี้ก่อหนี้นั้นขึ้น ถ้าหนี้นั้น เป็นอันสมบูรณ์ ผู้ค้ำประกันย่อมต้องผู้พันต่อเจ้าหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้จริง แม้จะมิได้ทำพร้อมกันกับสัญญากู้ ก็มีผลใช้บังคับได้

     หนี้ที่มีเงื่อนไข หมายถึง หนี้ประะานที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน ซึ่งหนี้นั้นจะสมบูรณ์ เมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 183 วรรคหนึ่ง เช่น ก. ทำสัญญาซื้อรถยนต์จาก ข. โดยมีเงื่อนไขว่า ก.จะต้องขายรถเก่าของตนให้แก่ผู้อื่นให้ได้ก่อน ดังนี้ แม้ขณะที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ กฎหมายก็ยอมให้มีการทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่าง ก. กับ ข. ได้

     ปัญหาคำว่า “ต้องระบุ” ในมาตรา 681 วรรค 2 และ วรรค 3 หมายความว่าอย่างไร เห็นว่า แม้กฎหมายจะใช้คำว่า “สัญญาค้ำประกันต้องระบุ” แต่การแก้ไขกฎหมายฉบับล่าสุด ไม่ได้แก้ไขมาตรา 680 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่า จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ หลักการที่ว่า สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบต้องทำเป็นหนังสือ ยังคงมีอยู่ ดังนั้น “ต้องระบุ” จึงหมายถึง เจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันจะต้องตกลงกันในเรื่องที่วรรคสองหรือวรรคสาม กำหนดและระบุไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกัน หรือหลักฐานเป็นหนังสือที่ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน

** หลักการของกฎหมายค้ำประกันเป็นอย่างไร คลิ๊ก **

     มาตรา 681 วรรค 3 จะต้องระบุหนี้ หรือสัญญาที่ค้ำประกันโดยชัแจ้ง หนี้หมายถึงหนี้อะไรก็ได้ ที่เป็นหนี้ทางแพ่ง ส่วนสัญญาที่ค้ำประกันหมายถึง สัญญาที่ก่อหนี้ประธานที่ผู้ค้ำประกันประสงค์จะค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้ เป็นหนี้กู้ยืม ซื้อขาย และกู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายบัญชี เจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันต้องตกลงกันให้ชัดเจนว่า ค้ำประกันสัญญาอะไร ลงวันที่เท่าไร ลูกหนี้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ โดยทำสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือ ตอนท้ายของสัญญาดังกล่าวมีช่องลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน การที่นาย ก. ลายมือชื่อในช่องผู้ค้ำประกันแสดงว่านาย ก. รู้แล้วว่าตนจะต้องรับผิดในมูลหนี้ใด จำนวนเท่าไร และตกลงกับเจ้าหนี้ว่าจะค้ำประกันหนี้นั้น สัญญาค้ำประกันระหว่างนาย ก. กับเจ้าหนี้จึงชอบด้วยมาตรา 681 วรรคสาม แล้วแต่ถ้าท่านเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มสัญญา การทำสัญญาโดยมีข้อความครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จะเป็นการลดข้อโต้แย้งและปลอดภัยมากกว่า

สรุป สัญญาค้ำประกันต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อคู่สัญญา และต้องทำขึ้นเพื่อหนี้ที่มีอยู่ปัจจุบัน หรือหนี้ที่เกิดในอดีต และยังคงมีอยู่ปัจจุบันของลูกหนี้

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE