เช็ค ( Cheque ) ตามมาตรา 987
อันการใช้เช็คนั้น อยู่ในหมวด 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987 บัญญัติว่า ” อันว่าเช็คนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่ง อันเรียกว่า ผู้รับเงิน “
ลักษณะของเช็ค
เช็ค เป็นหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 4513/2533 แคชเชียร์เช็คหรือแคชเชียร์ออเดอร์ เป็นตราสารที่มีสาระสำคัญครบถ้วนเป็นเช็คอันเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งตามกฎหมาย แม้จะมีข้อความที่แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นธนาคารสั่งตนเองให้จ่ายเงินแก่ผู้รับเงิน ก็มิได้ขัดกับลักษณะของเช็คตามมาตรา 987
โจทก์ขอให้จำเลยออกเช็คธนาคารหรือแคชเชียร์เช็คออเดอร์ หรือที่เรียกกันว่าแคชเชียร์เช็ค ไม่ได้ขอให้รับรองการจ่ายเงินฉบับใดฉบับหนึ่ง ความผู้พันระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นไปตามแคชเชียร์เช็คที่จำเลยออกให้โจทก์
- ผู้รับเงินตามเช็ค อาจระบุผู้ถือเป็นผู้รับเงินก็ได้ ทั้งนี้ ตามมารตา 989 ประกอบมาตรา 918
- เช็คเป็นตราสารสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ความรับผิดของบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็ค นอกจากต้องรับผิดตามเนื้อความตามมาตรา 900 แล้ว ยังตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งถือว่าเป็นวันผิดนัด ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224
คำพิพากษาฎีกาที่ 4686/2536 จำเลยเป็นผู้ลงลายมือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทจึงเป็นผู้ทรวงตามมาตรา 904 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 900 , 914 , 989 ประกอบ มาตรา 224 วรรคแรก
3. ผู้กู้ออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ยืม แก่ผู้ให้กู้ยืมแม้มีดอกเบี้ยเกินอัตราอยู่ด้วย เช็คย่อมเป็นอันใช้ได้ในส่วนที่เป็นต้นเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 2405/2538 จำเลยออกเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์โดยมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ ส่วนเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เป็นเช็คที่สมบูรณ์มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คดังกล่าวสมาฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงินเท่านั้น
4. ธนาคารซึ่งเป็นผู้ต้องใช้เงินตามเช็คอาจถูกฟ้องให้รับผิดเพื่อละเมิด
4.1 เช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว แต่ไม่อาจคืนเช็คให้แก่ผู้ทรง ปัญหาว่าธนาคารจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินในเช็คแก่ผู้ทรงหรือไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 493/2526 โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีโจทก์ที่ธนาคารจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินเมื่อเรียกเก็บเงินไม่ได้ การที่จำเลยไม่คืนเช็ค ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะได้ความว่าสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยผู้สั่งจ่ายยังคงมีอยู่ เพียงแต่โจขทก์ต้องการเช็คเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานว่าเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ซึ่งหลักฐานดังกล่าวก็ปรากฎอยู่ตามเอกสารอื่นแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเท่าจำนวนเงินในเช็ค หรือคืนเช็คให้โจทก์
หมายเหตุ ฎีกานี้ เห็นได้ชัดเจนว่า เช็ค ที่ผู้สั่งจ่ายออกให้แก่ผู้ทรงมีนิติสัมพันธ์อันเป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างกันอยู่ แม้ไม่มีเช็ค โจทก์ก็ยังอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องเดิมไดเ้ โจทก์จึงไม่เสียหายจากการที่ธนาคารไม่สามารถคืนเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้นั้น ธนาคารจะต้องรับผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 865/2508 จำเลยเป็นธนาคาร โดยปกติย่อมจะต้องระมัดระวังผลประโยชน์ของลูกค้า แต่จำเลยกลับละเลยต่อหน้าที่อันจะพึงปฏิบัติต่อลูกค้า โดยไม่พยายามจัดการส่งคืนเช็คที่ผู้สั่งจ่ายโดยไม่มีเงินให้แก่โจทก์ ซ้ำยังปล่อยให้เช็คนั้นสูญหายไป ทำให้โจทก์ต้องเสียหาย เพราะเช็คนั้นขาดอายุความใที่จะฟ้องร้องเอากับผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลัง และไม่มีเช็คคืนให้โจทกื เพื่อเรียกร้องเอากับผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังอีกด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 1725 – 1726/2506 การที่ธนาคารจำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คที่โจทก์นำฝากเข้าบัญชีของโจทก์ไม่ได้ และมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันควรแก่หน้าที่ตัวแทนนั้น หากปรากฎว่าถึงอย่างไร ลูกหนี้ตามเช็คก็สามารถชำระหนี้ได้เพียงร้อยละ 50 แล้ว ย่อม แต่กลับไม่รับชำระเป็นการบำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายแล้ว ก็ถือว่าโจทก์มีส่วนทำความผิดให้เกิดความเสียหายด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
4.2 ธนาคารใช้เงินไปตามเช็ค ที่มีการแก้ไขชื่อ ผู้รับเงินโดยประมาทเลินเล่อ
คำพิพากษาฎีกาที่ 6388/2544 การที่ ร. กับพวกร่วมกันปลอมข้อความลงในช่องผู้รับเงินโดยเพียงขีดฆ่าชื่อโจทก์ในช่องผู้รับเงินแล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายของบริษัท ด.กำกับบริเวณที่ขีดฆ่าชื่อโจทก์ โดยไม่มีตราประทับของบริษัท ด. ทั้งๆที่เงื่อนไขการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในคำขอเปิดบัญชีกระเเสรายวันของบริษัท ด. จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายของบริษัท ด. ตามที่ระบุไว้พร้อมทั้งประทับตราสำคัญของบริษัท เมื่อมีกรนำเช็คพิพาททั้งสองมาเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งมีหน้าที่ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเช้คที่นำไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 จึงควรใช้ความระมัดระวังตรวจสอบให้ดีว่า เหตุใดการลงลายมือชื่อของผมีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของบริษัท ด. ตรงที่มีการแก้ไขข้อความในช่องผู้รับเงินจึงไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทกำกับการแก้ไข เมื่อจำเลยทั้งห้ามิได้ใช้ความระมัดระวังเป็นเหตุให้ ร. กับพวก นำเช็คพิพาทที่ปลอมนั้น เข้าฝากในบัญชีของพวก ร. ซึ่งไม่ใช่บัญชีของผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมาย และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีของพวก ร. ไปแล้วเป็นเหตุให้ ร. กับพวงได้รับเงินไปในการกระทำทุจริตดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งห้า ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
เช็ค คือตราสารอย่างหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับการชำระหนี้จะมีบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ 4 กลุ่มคือ
1.ผู้สั่งจ่าย คือ ผู้ที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารนั้น และได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก้ผู้รับเงิน
2.ผู้รับเงิน หรือเรียกว่าผู้ทรงเช็ค จะได้รับเช็คจากผู้สั่งจ่าย และนำเช็คที่ได้ไปเรียกเก็บเงินกับธนาคาร
3.ธนาคารผู้เรียกเก็บเงิน คือธนาคารที่ผู้รับเช็คเปิดบัญชีไว้ ที่ผู้รับเช็คสามารถนำไปฝากเพื่อเรียกเก็บเงินได้
4.ธนาคารผู้จ่ายเงิน คือธนาคารที่ผู้สั่งจ่ายเช็คได้เปิดบัญชีไว้ จะหักเงินจากบัญชีผู้สั่งจ่ายเพื่อจ่ายเงินให้กับธนาคารผู้รับเงิน
เช็ค ( Cheque) แบ่งออกด้วยกัน 4 ประเภท
- เช็คที่ออกโดยบุคคลธรรมดา จะเป็นเช็คที่บุคคลธรรมดาออกมาเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้่หนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเปิดบัญชีกระแสรายวัน ไม่จำเป็นต้องเป็นนิติบุคคล
- เช็คที่ออกโดยนิติบุคคล คือเช็คที่ออกในนามนิติบุคคล และจะต้องยื่นคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยแนบไปพร้อมกับรายงานการประชุมบริษัทในหัวข้อ อำนาจผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค พร้อมตัวอย่างลายมือชื่อ
- แคชเชียร์เช็ค หรือเรียกว่า เช็คเงินสด คือเช็คที่มีความน่าเชื่อถือสูงที่สุด เพราะเมื่อธนาคารออกเช็คเงินสดให้แล้ว ธนาคารจะกันเงินที่ออกตามเช็คไว้ จนกว่าผู้รับเงินจะนำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคาร
- เช็คขีดคร่อม คือ เช็คที่ผู้ถือ หรือผู้รับเงินไปธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน เงินจะเข้าบัญชีธนาคารผู้ที่ปรากฎตามหน้าเช็ค ซึ่งจะมีความปลอดภัยสูงเพื่อป้องกันเช็คถูกขโมย
ข้อดีของการใช้เช็ค
1.เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เนื่องจากในขณะที่สั่งจ่ายเช็ค อาจจะยังไม่เงินอยู่ในบัญชี แต่การจ่ายเช็คเป็นการประกันอย่างหนึ่งเพื่อจะชำระหนี้ให้ตามวันที่ปรากฎอยู่หน้าเช็ค
2.ปลอดภัยมากกว่าพกเงินสด หากจะถือเช็คเพียงฉบับเดียวในการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ
3.เช็คถือเป็นหลักฐานอย่างดีทางบัญชี หรือหลักฐานธุรกรรมกับธนาคารสามารถตรวจสอบได้ง่าย และบางครั้งเช็คก็มีความจำเป็นอย่างมากที่ใช้ในการพิจารณาคดีกับศาล
ข้อเสียของการใช้เช็ค
1.ต้องขึ้นเงินภายใน 6 เดือนนับแต่เช็คถึงกำหนดชำระ
2.ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ต้องตรงกับคำขอเปิดบัญชี
3.มีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ต้องเป็นตราสารที่มีเนื้อความครบถ้วน
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE