เด็กที่เกิดจากการตั้งท้องแทน หรืออุ้มบุญ ปัจจุบันนี้มีกฎหมายรับการตั้งครรภ์แทนออกมาใช้บังคับคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีหลักการโดยย่อดังนี้
1. การตั้งครรภ์แทนต้องเป็นการดำเนินการตามความประสงค์ของสามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ต้องการเลือกเพศของบุตรและต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 4 ประการคือ
(1) ภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้และมีสัญชาติไทย แต่หากสามีหรือภรรยาไม่มีสัญชาติไทย ต้องสมรสกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
(2) หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภรรยา
(3) หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภรรยา หากไม่มีญาติสืบสายโลหิตจึงจะให้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทนได้
(4) หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาแล้วและถ้าหญิงนั้นมีสามี ไม่ว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องได้รับความยินยอมของสามีด้วย
2. การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนกระทำได้ 2 วิธีคือ
(1) ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามี และไข่ของภรรยาที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน
(2) ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามี หรือขายของภริยา ที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนกับใคร หรืออสุจิของผู้อื่นทั้งนี้ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน
3. เด็กที่เกิดจากอสุจิไข่หรือตัวอ่อนของผู้บริจาค โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะกระทำโดยการให้ ภรรยาของสามีซึ่งประสงค์จะมีบุตรเป็นผู้ตั้งครรภ์ หรือให้มีการตั้งครรภ์แทน โดยหญิงอื่นให้เด็กคนนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ซึ่งประสงค์จะมีบุตรแม้ว่าสามีหรือภริยาซึ่งประสงค์จะมีบุตรถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิดก็ตาม
4. ชายหรือหญิงที่บริจาคอสุจิหรือไข่ซึ่งนำมาใช้ปฏิสนธิ เป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์หรือผู้บริจาคตัวอ่อนและเด็กที่เกิดจากอสุจิไข่หรือตัวอ่อนที่บริจาคดังกล่าวไม่มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตามกฏหมายครอบครัวและมรดก
5. หากสามีและภรรยาที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กนั้นจนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครองขึ้นใหม่
กล่าวได้ว่าเด็กเกิดจากหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่จัดให้มีการตั้งครรภ์แทน ตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก อย่างไรก็ดี กรณีที่ชายและหญิงมาอยู่กินกันด้วยฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ซึ่งเป็นสามีภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นหญิงโสด หรือชายโสด หากสามีภรรยาคู่นี้หรือหญิงโสดชายโสดดังกล่าว ดำเนินการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนแม้จะใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิสามีและไข่ของภรรยาก็ตาม แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายเด็กเกิดจากหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนตามหลักทั่วไปของการเป็นมารดากับบุตรตามมาตรา 1546
สำหรับในกรณีที่สามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดำเนินการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนตามเงื่อนไขของมาตรา 21 แต่แพทย์ทำผิดวิธีตามมาตรา 22 โดยใช้อสุจิและไข่ของผู้บริจาคมาผสมกันจนเกิดเป็นตัวอ่อนแล้วใส่เข้าไปในครรภ์ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน เช่นนี้ เด็กที่เกิดจากหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนดังกล่าวก็ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน เพราะมิได้เป็นการดำเนินการให้มีการรับตั้งครรภ์แทนตามกฏหมายนี้
สำหรับกรณีการตั้งครรภ์แทนก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 มีบทเฉพาะกาลในมาตรา 56 ให้สิทธิที่สามีหรือภรรยาที่ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนหรือพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้บุคคลที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภรรยาที่ดำเนินการตั้งครรภ์แทนนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้เกิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: www.facebook.com/UDOMKADEE