เยาวชน 14 ยิงคนในห้าง

เยาวชน 14 ยิงคนในห้าง

      ศาลยุติธรรมเผยแนวทางดำเนินคดีกับคดี เยาวชน 14 ยิงคนในห้าง เผยต้องดูพฤติการณ์โดยละเอียด เด็กแต่ละคน อาจใช้มาตรการไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และความจำเป็น

      นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินคดีกับ เยาวชนชายอายุ 14 ปี ที่ ก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงประชาชนในห้างดัง มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตว่า

      ในการจับกุมเยาวชน ศาลเยาวชนฯ จะมีกระบวนการตรวจสอบการจับกุม ตามกฎหมาย ซึ่งพนักงานสอบสวน ต้องนำตัวเด็กหรือเยาวชน ส่งศาลเยาวชนฯ ภายใน24 ชั่วโมง เพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับก่อนว่า การจับกุมเด็ก หรือเยาวชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเยาวชน เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่

      ปกติ การจับกุมเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิด กฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวน ควบคุมตัวไว้ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ส่วนมากก็จะนำตัวมาส่งศาลเยาวชนฯ เพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจ ว่าจะควบคุมตัว หรือจะให้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไรต่อไป

      หลังจากตรวจสอบการจับกุม ศาลจะรอดูรายงานการจับกุมจากพนักงานสอบสวน ที่นำส่งมาให้ศาลพิจารณาว่า พฤติการณ์ของเยาวชนรายนี้เป็นอย่างไรบ้าง เช่น ศาลจะดูว่า เด็กก่อเหตุยิงไปกี่คน สภาพทางจิตใจ การรักษาพยาบาลทางจิต การดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นอย่างไร

      ซึ่งพนักงานสอบสวน จะต้องใส่มาในรายงานให้ศาลพิจารณา และในการตรวจสอบการจับ พนักงานสอบสวน ก็จะต้องเดินทางมาศาลเยาวชนฯ ด้วย ซึ่งศาลอาจจะต้องทำการไต่สวนพนักงานสอบสวนเพิ่มเติม ถึงข้อมูลต่างๆ ที่พนักงานสอบสวนใส่มาในรายการการจับกุม จากนั้นศาลจะพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนว่า จะใช้ดุลยพินิจในการปล่อยตัว หรือจะควบคุมตัวเด็ก หรือเยาวชนที่ก่อเหตุหรือไม่

      ส่วนกรณีของเด็กที่มีเรื่องของอาการป่วยทางจิต นั้น หากศาลเห็นว่า ถ้าพ่อแม่เด็กดูแลเด็กได้ ก็จะให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองดูแล และอาจวางมาตรการต่างๆกำหนดไว้ แต่หากพ่อแม่เด็ก ดูแลไม่ได้ ก็อาจจะให้องค์กร หรือหน่วยงาน ที่ดูแลด้านเด็ก ดูแลแทน หรือสถานที่อื่นที่ศาลเห็นสมควร เช่น สถานดูแลทางจิตเวช แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของเด็ก ว่า รุนแรงขนาดไหน และต้องใช้มาตรการอะไรที่จะมาควบคุมดูแลเด็กเหล่านี้

      ในส่วนของพ่อแม่ ของเด็กนั้น ตามกฎหมาย หากเป็นเด็กหรือเยาวชน ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ พ่อแม่ก็ต้องรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 เว้นแต่พ่อแม่จะพิสูจน์ข้อยกเว้นตามกฎหมายได้ว่า ตนเองไม่ได้มีส่วนผิด

      โฆษกศาลยุติธรรม ยังกล่าวด้วยว่า กฎหมายให้ดูพฤติการณ์ของแต่ละเรื่องไป ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 คดี มีเด็กทำผิดกฎหมาย 10 คน ศาลอาจจะใช้มาตรการ ที่ต่างกันไปของทั้ง 10 คนก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ และความจำเป็นของเด็กแต่ละคน เหมาะสมแค่ไหน

ทางด้าน ดร.ธีร์รัฐ บุนนาค ให้ความเห็นในแง่มุมอื่นว่า

“ข้อคิด กรณีเด็กยิงคนในห้างสยาม พาราก้อน..”

เหตุการณ์นี้ มีข้อสังเกตว่า..

1) ปืนที่ใช้.. ไม่ใช่ปืนจริง.. แต่ยิงคนตาย..

เป็นปืน blank gun .. คือ ปืนที่ยิงแล้ว มีแสง มีเสียงเหมือนปืนจริง.. เพียงแต่ ไม่มีลูกปืน ไม่มีหัวกระสุนออกมา.. นิยมใช้ในการแสดงภาพยนต์..

ตามข่าวว่า blank gun ที่เขาใช้.. มีการดัดแปลง ให้ยิงได้เหมือนปืนจริง.. คือ เปลี่ยนลำกล้องให้เป็นลำกล้องเหล็ก.. และใช้กระสุนจริง..

ตามกฎหมาย ถือว่า ปืน blank gun หรือปืน BB gun ที่นำมาดัดแปลงให้ยิงคนตายได้.. เป็นปืนเถื่อน..

2) ปืนไม่มีความผิด.. ผิดที่คนตั้งใจเอาปืนไปทำผิด..

และเพราะอาชญากรรมส่วนใหญ่ใช้ปืนเถื่อน ซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก ทางออนไลน์มีมากมาย..

ส่วนปืนจริงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น มีราคาสูง และมีขั้นตอนการได้มาค่อนข้างยุ่งยาก.. จึงไม่นิยมในหมู่อาชญากร..

ดังนั้น การแก้ปัญหาการนำอาวุธปืนมาก่ออาชญากรรมนั้น..

“ไม่ใช่ห้ามมิให้คนดีมีอาวุธปืนที่ถูกต้อง.. เพราะเขามีไว้ป้องกันตัวเอง และช่วยคนอื่น แบ่งเบาภาระของตำรวจได้..”

แต่รัฐต้องเน้นการปราบปราม แหล่งจำหน่ายปืนเถื่อนทั้งหลายในไทย อย่างจริงจัง..

3) การดูแลผู้ป่วยทางจิต ที่อาจก่ออันตรายต่อสังคม.. รัฐมีหน้าที่โดยตรงในการเข้ามากำกับดูแลและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้ผู้ปกครอง หรือครอบครัวของเขา..

ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย.. ให้เขาต้องเผชิญปัญหาตามลำพัง..

4) กฎหมายไทย.. คนวิกลจริตทำผิด ต้องรับโทษ หากรู้สำนึกในขณะกระทำ..

หากไม่รู้เลยในขณะนั้น.. ก็ไม่ต้องรับโทษเลย.. แต่ถ้ารู้สำนึกบางส่วน ก็รับโทษลดหลั่นลงมาตามที่สำนึก..

ในต่างประเทศมีปัญหาทางวิชาการ ที่เห็นไม่ตรงกันระหว่าง ศาล กับจิตแพทย์ในกรณีวิกลจริต..

เพราะศาลดูที่ จำเลยรู้สำนึกมั้ยว่า ทำอะไร.. ทำกับใคร..

แต่จิตแพทย์ จะดูว่า.. เขาห้ามใจได้มั้ย ถ้าห้ามการกระทำของตนเองไม่ได้ ถือว่า เขาวิกลจริต..

ประเทศไทย ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้.. หากจัดสัมมนาทางวิชาการ หาข้อสรุป น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม..

5) กรณี คนดูหนังโป๊.. ติดเกมที่รุนแรง.. เสพยาบ้า. ดื่มสุรา แล้วไปข่มขืน ไปทำผิด.. และมักอ้างว่า สิ่งกระตุ้นเหล่านั้นเป็นต้นเหตุของการทำผิด..

ทั้งที่จริงๆแล้ว.. คนที่ทำผิด มักจะมีนิสัย เสพยา หรือดื่มสุราเป็นปกติอยู่แล้ว..

จึงไม่ใช่ความผิดของหนังโป๊.. เกม.. ยาเสพติด.. หรือสุรา.. แต่เป็นความผิดของคนทำเอง ที่ไม่ยับยั้งใจ..

แต่ถ้ารัฐสามารถกำจัดสิ่งกระตุ้นที่ผิดศีลธรรมเหล่านั้นให้หมดก็ดีนะ.. สังคมคงจะดีขึ้น เพราะเราเอากฎศีลธรรมมาเป็นกฎหมาย..

แบบประเทศที่เขานับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด..

6) กฎหมายไทย ตามแบบแนวทางยุโรปว่า ห้ามประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตเด็กที่ทำผิดตอนอายุไม่ถึง 18 ปี..

ส่วนอเมริกานั้น เขาคุ้มครองเด็ก แต่ไม่ห้ามประหารชีวิตเด็ก..

7) กฎหมายอาญา เขียนว่า เด็กทำผิดอาญา ไม่ต้องรับโทษ..

เดิมระบุว่า.. เด็กอายุ ไม่เกิน 7 ขวบ ทำผิด ไม่ต้องรับโทษ..

ต่อมาเสนอแก้ไขว่า.. เด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี ทำผิด ไม่ต้องรับโทษ..

แต่มีการคัดค้านจากหน่วยงานศาล และตำรวจในชั้นสภาฯ.. สุดท้าย ตกลงกันได้ว่า.. เด็ก อายุไม่เกิน 12 ขวบ ทำผิด ไม่ต้องรับโทษ.. ใช้กฎหมายมาได้ระยะหนึ่ง..

ล่าสุด มีการเสนอแก้ไขใหม่ และใช้บังคับแล้วว่า..

เด็ก อายุไม่เกิน 15 ปี ทำผิด ไม่ต้องรับโทษ..

แต่ต้องส่งเด็กไปรับการแก้ไข สงเคราะห์ตามพรบ คุ้มครองเด็ก..โดยกระทรวงพัฒนาสังคมฯ

มีปัญหา คือ..

ศาลบอกว่า.. อัยการต้องฟ้องศาลก่อน เพื่อวินิจฉัยว่า เขาเป็นเด็กอายุไม่เกินเกณฑ์ตามกฎหมายมั้ย และเขาทำผิดกฎหมายมั้ยเสียก่อน.. เมื่อศาลพิพากษาว่า เขาทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษแล้ว..

ค่อยส่งเด็กไปพม. ตามที่กฎหมายบัญญัติ..

แต่อัยการบอกว่า.. จะสั่งไม่ฟ้องเด็กเลย.. ไม่ต้องฟ้องศาล..

ตำรวจเลยบอกว่า.. งั้นตำรวจไม่ส่งให้อัยการล่ะกัน จะสอบปากคำขยายผลแล้ว ส่งให้พม. เลย 55

นั่นเขาเถียงกันในชั้นกรรมาธิการนานแล้วนะครับ..

เราลองมาดูกันว่า.. ตอนนี้ ทางปฏิบัติ เขาจะทำยังไง..

8 ) กรณีวิกลจริต เจ็บป่วย เป็นสาเหตุให้ทำผิด..

ถ้าไม่รักษาอาการป่วย.. เขามักทำผิดซ้ำอีก..

ผู้เกี่ยวข้อง จึงควรนำ..

“พรบ. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565.. “

มาใช้ให้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ในอนาคต..

กฎหมายนี้ ดึงศาลให้ลงมาช่วยแก้ไขปัญหาของสังคม..

เรียกว่า.. Problem solving court หรือ Community court..

เช่นคดียาเสพติด คดีความรุนแรงในครอบครัว คดีเด็กกระทำผิด..

ให้ศาลมีบทบาท มีอำนาจสั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาช่วยกันแก้ไขปัญหา แล้วยุติการดำเนินคดีแทนการลงโทษ..

มิใช่ ให้ศาลมีหน้าที่ตัดสินลงโทษจำเลยตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว..

หากศาลเข้าใจบทบาทใหม่นี้ และมีเครื่องมือสนับสนุนอย่างเพียงพอ.. รับรองว่า จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆของสังคมเราได้มาก..

ฝากให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาครับ..

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE