เลิกบริษัทจำกัด

https://pantip.com/topic/34109825

เลิกบริษัทจำกัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 อันบริษัทจำกัด ย่อมเลิกกันด้วยเหตุดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าในข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น
(2) ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นไว้เฉพาะกำหนดการใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(3) ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้น
(4) เมื่อมีมติพิเศษให้เลิก
(5) เมื่อบริษัทล้มละลาย

เหตุที่ทำให้บริษัทเลิกกันโดยผลของกฎหมาย

          คำพิพากษาฎีกาที่ 990 / 2518 ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกัน เพราะเหตุล้มละลาย ต่อมาศาลมีคำสั่งยกเลิกล้มละลาย  ห้างย่อมกลับมีสภาพนิติบุคคลมีอำนาจฟ้องได้

          คำพิพากษาฎีกาที่ 8047 / 2544 เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของมาตรา 1236  (5)  และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่จะจัดการกับเพียงผู้เดียวตาม พ.ร.บ ล้มละลาย มาตรา 22 , 24  ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามกฎหมายล้มละลายที่คงอยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้น กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่า บริษัทเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทเจาะเลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชี และไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามมาตรา 1252

          คำพิพากษาฎีกาที่ 4551 / 2547 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติเหตุแห่งการเลิกบริษัทจำกัดไว้เพียง 2 มาตราคือ มาตรา 1236 และ 1237 ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวในคำฟ้องขอให้ เลิกบริษัทจำกัด ได้มีอยู่ในบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฏหมายที่ศาลจะพิพากษาให้ เลิกบริษัทตามคำขอของโจทก์ได้ ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1273 วรรค 1 ที่ว่า นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัด ก็คือ นอกจากบทบัญญัติตามมาตรา 1236 นั่นเอง มิได้มีความหมายว่าบทบัญญัติในมาตรา 1237 เป็นเพียงตัวอย่างของเหตุที่จะต้องเลิกบริษัท

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้ เลิกบริษัทจำกัด ด้วยเหตุดังต่อไปนี้คือ
(1) ถ้าทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
(2) ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายในปีหนึ่งนับแต่วันจดทะเบียนหรือหยุดทำการถึงปีหนึ่งเต็ม
(3) ถ้าการค้าของบริษัททำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้
(4) ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสามคน

          แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท ศาลจะสั่งให้ยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือให้มีการประชุมตั้งบริษัทแทนสั่งเลิกบริษัทก็ได้ แล้วแต่จะเห็นควร

          ความเดิมใน (4) ยกเลิกและใช้ความใหม่โดยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 125 ตอนที่ 41 ก หน้า 12 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2551 และมาตรา 2  บัญญัติให้ใช้บังคับเมื่อ ผลกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจาหนูเบกษาเป็นต้นไป

https://pantip.com/topic/32060017

เหตุที่ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัท

นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดด้วยเหตุต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
(2) ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายในหนึ่งปีนับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำการถึงหนึ่งปีเต็ม
(3) ถ้าการค้าของบริษัททำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้
(4) จำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจะเหลือไม่ถึงสามคน

          แต่ในกรณีทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท ศาลจะสั่งให้ยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือให้มีการประชุมตั้งบริษัทแทนสั่งเลิกบริษัทก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร

ข้อสังเกต

(1) มาตรา 1237 ที่ว่า นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัดด้วยเหตุต่อไปนี้

          จากคำพิพากษาฎีกาที่ 4551 / 2547  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติเหตุแห่งการเลิกบริษัทจำกัดไว้เพียง 2 มาตราคือ มาตรา 1236 และ 1237 ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวในคำฟ้องขอให้ เลิกบริษัทจำกัด ได้มีอยู่ในบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุตามกฏหมายที่ศาลจะพิพากษาให้ เลิกบริษัทตามคำขอของโจทก์ได้ ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1273 วรรค 1 ที่ว่า นอกจากนี้ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัทจำกัด ก็คือ นอกจากบทบัญญัติตามมาตรา 1236 นั่นเอง มิได้มีความหมายว่าบทบัญญัติในมาตรา 1237 เป็นเพียงตัวอย่างของเหตุที่จะต้องเลิกบริษัท

          หมายเหตุ ตามฎีกานี้ มีข้อกฎหมายที่วินิจฉัยว่า บริษัท ว. ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจได้ดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจของกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 1157 หากโจทก์เห็นว่าการกระทำของบริษัท ว. มิชอบ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทได้รับความเสียหายเพราะต้องผลจากตำแหน่งกรรมการ โจทก์จะต้องฟ้องบริษัท ว. ที่กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ให้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยตรง เพราะการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ว. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหาก กรณีจึงไม่มีบุคคลที่อาจต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์ อันเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับให้ได้ ตลอดทั้งไม่มีเหตุตามกฏหมายที่ศาลจะต้องรับฟ้องไว้ เพื่อรอให้บริษัทดังกล่าวร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพราะไม่อาจบังคับได้ตามฟ้องมาแต่ต้นแล้ว

(2) การฟ้องขอให้เลิกบริษัท

          คำพิพากษาฎีกาที่ 337 / 2490 ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นผู้จัดการและเป็นกรรมการบริษัทนั้นจะฟ้องขอให้เลิก บริษัทได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากกรรมการเพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1774 / 253 บริษัทจำกัดจดทะเบียนวัตถุประสงค์ ทำอุตสาหกรรม เช่น ทำเส้นก๋วยเตี๋ยวและเข้าหุ้นส่วนกับบุคคลอื่น ฉะนั้น บริษัทนำเงินไปลงหุ้นกับบริษัทอื่น เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราจึงไม่ผิดวัตถุประสงค์บริษัท จดทะเบียนเปลี่ยนวัตถุประสงค์ตามปกติพิเศษ เป็นการชอบด้วยกฎหมายในการเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ การทำผิดวัตถุประสงค์ไม่ใช่เหตุเลิกบริษัทตามอัตรา 1273 บริษัทไม่ดำเนินการค้าภายใน 1 ปี ไม่เป็นเหตุบังคับว่าศาลต้องสั่งเลิกบริษัท บริษัทขาดทุนเพราะมีเหตุขัดข้อง แต่ยังมีลู่ทางได้กำไรอยู่ ไม่เป็นเหตุควรสั่งเลิกบริษัท

          คำพิพากษาฎีกาที่ 1772 / 2540 การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามมาตรา 1237 จะมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และความคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้บริหาร บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางจะฟื้นตัวได้เลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ มาตรา 55 แล้ว

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line : @Udomkadee
Fanpage : https://www.facebook.com/UDOMKADEE