แจ้งความเท็จ
มาตรา 137 “ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ แก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 137 เป็นการแจ้งความในเรื่องทั่วๆไป แก่เจ้าพนักงานทั่วไป ซึ่งแตกต่างกับความผิดฐานแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดอาญา ตามมาตรา 172 และมาตรา 173 เพราะ มาตรา 172 เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา โดยต้องมีความผิดอาญาเกิดขึ้นก่อน จึงแจ้งแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ส่วนมาตรา 173 เป็นกรณีที่ไม่มีความผิดอาญาเกิดขึ้น แต่แจ้งว่ามีการกระทำความผิดอาญา โดยเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ “แจ้งข้อความ” หมายถึง เฉพาะแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่แจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในข้อกฎหมาย ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ (หรือในกรณีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในข้อกฎหมายก็ยังไม่เป็นแจ้งความเท็จ)
ข้อความอันเป็นเท็จ ต้องเป็นข้อความเท็จในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอดีตหรือปัจจุบัน ที่ไม่ตรงกับความจริง มิใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนั้น การแจ้งเท็จข้อกฏหมาย ไม่เป็นความผิดทางอาญา
- เมื่อเจ้าพนักงานรับทราบข้อความ ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว ตามมาตรา 137 เจ้าพนักงาน จะเชื่อหรือไม่นั้น ไม่สำคัญ
องค์ประกอบข้อ 1. คำว่า “ผู้ใด” อาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
องค์ประกอบข้อ 2. คำว่า “แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ” แจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้เจ้าพนักงานได้ทราบ โดยวิธีไหนก็ได้ และจะเริ่มโดยผู้กระทำความผิดเข้ามาแจ้งด้วยตนเอง หรือจากการตอบคำถามเจ้าพนักงานก็ได้
แต่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิให้การรับ หรือปฏิเสธ ตาม ปวิอ. มาตรา 134 /4(1) โดยผู้ต้องหาจะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การอย่างใดเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหา แม้คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่เป็นความจริงก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ มิฉะนั้น อาจผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ต่อมาศาลพิพากษาลงโทษ ผู้ต้องหาก็ต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตลอด ซึ่งไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1093 / 2522 จำเลยรับสมอ้างเป็นคนขับรถ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยว่า ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส พนักงานสอบสวนจดคำให้การของจำเลยว่าเป็นคนขับ ต่อมามีพยานหลักฐานว่าผู้อื่นเป็นคนขับมิใช่จำเลย คำให้การของจำเลยที่พนักงานสอบสวนจดคำให้การไว้ในฐานะผู้ต้องหา แม้ไม่เป็นความจริง ก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
แม้ผู้ต้องหาถูกกันเป็นพยาน ก็ไม่พ้นฐานะการเป็นผู้ต้องหา เป็นเพียงวิธีการสอบสวนเท่านั้น แม้ผู้ต้องหาที่ถูกกันเป็นพยาน จะให้การเท็จ ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
นอกจากนั้นการที่ผู้ต้องหายื่นประกันตัว ต่อพนักงานอัยการและระบุว่า จำเลยมีสวนผลไม้และไม่มีภาระติดพัน แม้ความจริงหลักประกันนี้จำเลยนำไปใช้ประกันตัวจำเลยไว้กับศาลก่อนแล้ว ศาลก็พิพากษาว่าไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ต้องมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาให้ทราบว่าเป็นการแจ้ง อาจเป็นการแจ้งด้วยวาจา หรือแจ้งโดยวิธีตอบคำถามของเจ้าพนักงานที่ถามมา หรือการกระทำหลายอย่างรวมกัน เช่น แจ้งโดยวิธีการกรอกข้อความเท็จในเอกสารแล้วยื่นเอกสารที่มีข้อความอันเป็นเท็จให้แก่เจ้าพนักงาน , แจ้งโดยวิธีแสดงหลักฐานเท็จ , แจ้งโดยการรับรองเท็จ
- ไม่เห็นเหตุการณ์ว่าใครเป็นคนร้าย ไปแจ้งว่าเห็นเหตุการณ์ว่าใครเป็นคนร้าย ก็เป็นแจ้งความเท็จได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2249 / 2515 จำเลยไม่เห็นว่านาย ก. กระทำผิดเป็นคนร้าย แต่ไปแจ้งกับพนักงานสอบสวนว่าเห็นนาย ก. กระทำผิด อย่างนี้เป็นการกระทำผิดฐานแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 172 เรื่องแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา
- คำมั่นสัญญาหรือคำรับรองไม่เป็นแจ้งความเท็จ
ข้อความที่แจ้งเท็จต้องเป็นข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงนี้ต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องอนาคต หากเป็นเรื่องอนาคตแล้วไม่อาจเป็นความเท็จไปได้ เพราะมันยังไม่เกิดการให้สัญญา ว่าจะทำการหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต แล้วไม่ทำตามคำพูดเป็นแต่เพียงการผิดคำมั่นสัญญาหรือผิดคำรับรอง ไม่ทำให้ถือว่าเป็นเรื่องการแจ้งความเท็จ ดังนั้นแจ้งขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อได้รับอนุญาตแล้วไม่เดินทางออกไปจริง ต่อมาขอถอนการอนุญาต ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ หรือแจ้งต่อศาลว่าจะเอาทรัพย์มาคืนเพื่อจะได้แบ่งมรดกกันให้เสร็จ แต่พอถึงกำหนดวันนัดอีกหนึ่งเดือนต่อมาก็ไม่เอามา จึงเป็นเรื่องผิดคำรับรองไม่ใช่เรื่องแจ้งความเท็จ
- การแจ้งข้อเท็จจริงนั้น ต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ถ้าหากเป็นเพียงการแสดงความเห็น การคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคต ไม่ใช่เรื่องการแจ้งเท็จ การใช้ถ้อยคำต่อท้าย “ใช่หรือไม่” “จริงหรือไม่” เป็นการไม่ยืนยันข้อเท็จจริง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2550 / 2529 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ไปถามหาจำเลยที่ร้านค้าของจำเลย เด็กในร้านบอกว่าจำเลยไม่อยู่ จำเลยเกรงว่าโจทก์จะมาดักทำร้าย โจทก์ไม่ได้กระทำการตามที่จำเลยแจ้งข้อความ เมื่อเป็นการแจ้งความไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้านโจทก์ โดยมิได้ยืนยันข้อเท็จจริง การแจ้งความของจำเลยจึงผิดมาตรา 137
- กรณีแจ้งความไปตามความจริง แม้มีการให้ความเห็นทางกฎหมาย ถึงการกระทำข้อเท็จจริงนั้นผิด ก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3107 / 2516 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏการพกอาวุธปืนเช่นนี้เป็นความผิดตามกฏหมายที่จำเลยแจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายและการที่จำเลยแจ้งด้วยว่าโจทก์เป็นบุคคลอันตะพานนั้นก็ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความผิดอาญาการกระทำจำเลยจึงไม่ผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
- กรณีจะเป็นการแจ้งข้อความเท็จต้องยืนยันข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จในขณะที่แจ้งหากไม่ยืนยันเรื่องที่ยังไม่แน่นอนไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1435 / 2531 แจ้งกับเจ้าพนักงานว่า ได้บอกกล่าวกับเจ้าหนี้ทุกรายแล้ว แต่ความจริงยังไม่ได้บอกกับเจ้าหนี้ที่เป็นคดีพิพาทกันอยู่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษามาแล้ว แต่อยู่ระหว่างฎีกายังเป็นการไม่แน่นอนว่า จะเป็นเจ้าหนี้จริงหรือไม่ เพราะศาลฎีกาอาจจะวินิจฉัยกลับให้จำเลยชนะคดีก็ได้ จึงไม่ถือว่าแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1455 / 2529 ขายเครื่องจักรไปแล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอน แล้วไปแจ้งว่ายังเป็นของตนถือว่าข้อความที่แจ้งเป็นจริง ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
องค์ประกอบข้อ 3. “แก่เจ้าพนักงาน” การแจ้งเท็จนี้ ต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่มีอำนาจ มีหน้าที่เกี่ยวกับการที่แจ้ง ถ้าหากเจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ผิดฐานแจ้งเท็จ
ผู้รับแจ้งความไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานสอบสวนเสมอไป เจ้าพนักงานทั่วไป อธิบดีผู้พิพากษา ก็เป็นเจ้าพนักงาน กรณีที่มาทำหน้าที่ด้านธุรการ เช่น มาสอบวินัย ก็เป็นเจ้าพนักงาน ใครมาแจ้งความเท็จก็ผิดฐานนี้ เพราะทำให้เสียหาย ทั้งนี้ต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ด้วย
- แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็ผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3602 / 2533 การที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า บ้านพิพาทเป็นของโจทก์ แต่ยังได้นำยึดบ้านดังกล่าว โดยแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าบ้านนั้นเป็นของนาย ก. ซึ่งเป็นจำเลยในคดี เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ถือว่าจำเลยได้รับแจ้งข้อความ เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นความผิดมาตรา 137
- กรณีผู้รับแจ้งมีสองสถานะ แต่ได้แจ้งความต่อผู้นั้น ในฐานะที่ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานในเรื่องนั้น ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาฎีกาที่ 594 / 2521 แจ้งความเท็จต่อรัฐมนตรี ช่วยว่าการมหาดไทย ซึ่งขนาดนั้นเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาด้วย แต่แจ้งความในฐานะรัฐมนตรี ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172 , 173
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีก
- แจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานต้องมีหน้าที่โดยตรง
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 2839 / 2541 จำเลยพาเพื่อนมาให้พัฒนากรอำเภอรับรองเพื่อทำบัตรประชาชน พัฒนากรอำเภอไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน แม้จะได้รับรองให้ก็เป็นเพียงรับรองในฐานะเป็นข้าราชการ มิได้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชน จึงไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฏหมาย จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน
- ไม่ใช่ตามหน้าที่ที่เจ้าพนักงานต้องปฏิบัติตามกฏหมายก็ไม่เป็นความผิด
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 957 / 2518 บันทึกหลังสัญญาขายฝากตามที่อธิบดีกรมที่ดินสั่งให้บันทึกไว้ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องเป็นเรื่องนอกหน้าที่ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะมีการบันทึกไว้ก็ไม่ผิดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินใช้ตรายางประทับด้านหลังของสัญญาขายฝากมีข้อความว่า “ข้าพเจ้าผู้รับซื้อฝาก ขอยืนยันว่าในการทำขายฝากที่ดินรายนี้ ได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง โดยมีการตกลงกันอย่างแน่นอนแล้ว หากเกิดความผิดพลาดข้าพเจ้าขอรับผิดชอบและผู้รับซื้อฝากได้ลงลายมือชื่อไว้” การบันทึกดังกล่าวมิใช่เป็นการบันทึกตามที่กฎหมายที่ดินบัญญัติให้ทำ แม้ความจริงผู้ขายฝากกับผู้ซื้อฝากจะไม่รู้จักกันเลย และข้อความไม่ตรงตามที่บันทึกไว้ ก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน
- หากเป็นกรณียื่นคำคู่ความในการต่อสู้คดีไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีก“คำคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคำฟ้อง คำให้การ หรือคำร้องทั้งหลาย ที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ ซึ่งได้แก่ คำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง คำร้องขอแก้ไขคำให้การ การดำเนินพิจารณากระบวนคดีต่อศาล การยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วม เป็นการยื่นคำคู่ความเข้าเป็นจำเลยในการพิจารณาคดีของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ใช่เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกการยื่นคำให้การในคดีแพ่งเป็นเท็จก็ไม่ผิด เพราะคำให้การ จะให้อย่างใดก็ได้ในการต่อสู้คดี การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คำร้องคัดค้านที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็น การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิที่ดิน การยื่นเรื่องขอกันส่วนเงิน เป็นคำคู่ความเป็นเรื่องทางภาคบังคับคดี การยื่นคำร้องดังกล่าวไม่เป็นการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
- กรณีต้องเป็นความเท็จที่เป็นข้อสาระสำคัญในคดี
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกแม้มาตรา 137 ไม่มีองค์ประกอบว่า ความเท็จนั้น เป็นข้อสำคัญในคดีเหมือนกับ มาตรา 177 แต่เมื่อพิจารณาตามแนวคำพิพากษาฎีกา เห็นว่าความเท็จนั้น ต้องเป็นข้อสำคัญในคดีนั้น มิใช่เรื่องพลความถึงจะเป็นความเท็จ
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 2249 / 2515 มีผู้ถูกคนร้ายฆ่าตาย จำเลยเห็น ส. กับ ฮ. ร่วมกันฆ่าโดยไม่ได้เห็น ท. ร่วมกระทำผิด แต่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ท. กับ ส. และ ฮ. ฆ่า จึงเป็นการแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน ตามมาตรา 172 เมื่อเป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิด มาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
องค์ประกอบข้อ 4. “ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย” กฏหมายเช่นคำว่า “อาจ” เท่านั้น จึงเท่ากับว่าเป็นความผิดที่ไม่ต้องการผล ไม่จำต้องเกิดผลเสียหายขึ้น เพียงแต่อาจเสียหายก็เข้าองค์ประกอบความผิดแล้ว
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 3602 / 2533 องค์ประกอบข้อที่ว่า ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายของมาตรา 137 นี้ ไม่ต้องเกิดความเสียหายจริงๆก็เป็นความผิด เพราะฉะนั้น เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการแจ้ง และการแจ้งนั้น ได้รู้ถึงเจ้าพนักงานแล้ว คำว่า เจ้าพนักงานมิได้จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเจ้าพนักงานอื่นโดยทั่วไป
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 1329 / 2529 ความเสียหายอาจมิได้เกิดขึ้นจริง ก็เป็นความผิดสำเร็จ แจ้งข้อความเท็จขอ ออก นส.3 ก ในที่ดินที่มี นส.3 อยู่แล้ว แม้ว่าต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอน นส.3 ก ที่ได้ออกไปแล้ว ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกแต่หากไม่น่าจะเสียหายก็ไม่ผิด ซึ่งเป็นปัญหาในการวินิจฉัย เช่น เคยจดทะเบียนสมรส และได้หย่ามาแล้ว หากต่อมาแจ้งว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรส กรณีถือว่าไม่อาจทำให้ใครเสียหาย ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ แต่หากสามีไปแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ว่าเป็นโสด เพื่อจดจำนองที่ดิน เป็นแจ้งความเท็จกรณีนี้ ทำให้เกิดความเสียหายเพราะไม่ได้หย่า
- แจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ไม่มีเจตนามอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จแต่อาจผิดข้อหาอื่น
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 3252 / 2543 จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐาน หากมีบางข้อความบางส่วนเป็นเท็จ หรือผิดเป็นความจริงไปบ้าง ก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจาก ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะส่งมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดี เพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 12015 / 2555 แจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าเอกสารสำคัญหาย เพื่อไปแจ้งขอออกใบแทนอีกชั้นหนึ่ง แม้ในการออกใบแทนตรงกับเอกสารเดิม ไม่มีข้อความเพิ่มเติม ก็ผิดตามมาตรา 137 แต่ไม่ผิดมาตรา 267
องค์ประกอบสุดท้าย คือ “เจตนา” ถ้าหากเป็นการแจ้งตามที่เข้าใจโดยสุจริตแล้ว ไม่ถือว่ามีเจตนา ควรพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป การที่พนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้อง หรือผู้พิพากษาอาจจะยกฟ้อง เพราะขาดเจตนาต้องเป็นเรื่องที่ชัดเจนจริงๆ
หากเป็นความผิด ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีกคำพิพากษาฎีกาที่ 1047 / 2514 จำเลยที่หนึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน กลับมาจากธุระมาถึงบ้าน ก็ได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นลูกบ้านว่า ถูกโจทก์เรียกร้องเอาเงินไป ขอให้ไปแจ้งต่อตำรวจเพื่อเอาเงินคืน จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน จึงไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจตามคำบอกเล่าของลูกบ้าน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่ของผู้ปกครองหมู่บ้าน โดยเชื่อตามคำบอกเล่าของลูกบ้านว่า เป็นความจริง เช่นนี้จำเลยที่ 1 ยังหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
ตัวอย่างไม่ผิดเพราะขาดเจตนา เช่น จำวันเกิดเหตุผิด , เชื่อโดยมีเหตุควรเชื่อว่าข้อความที่แจ้งเป็นจริง , หรือภรรยาโดยพฤตินัยแจ้งว่า เป็นภรรยาของผู้ตาย ไม่ทำให้โจทก์ผู้เป็นทายาทเสียหาย
หากเป็นความผิด แจ้งความเท็จ ตามมาตรา 173 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทั่วๆไปอีก
สรุป แจ้งความเท็จ มาตรา 137 จะแตกต่างกับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 172 เนื่องจาก มาตรา 137 จะเป็นบทบัญญัติที่มีความหมายกว้างกว่า ในเเง่ของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งจะเป็นฝ่ายใดก็ได้ แต่ขอให้เพียงเป็นผู้มีหน้าที่ในขณะแจ้งเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว และ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้น อาจจะทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนได้รับความเสียหาย ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE