โมฆียกรรม

https://pantip.com/topic/38978156

โมฆียกรรม

1. ลักษณะทั่วไปของโมฆียกรรม

(1) ความหมายของโมฆียกรรม

นิติกรรมที่เป็นโมฆียะกรรม เป็นนิติกรรมที่มีผลตามกฏหมายไม่เสียเปล่า แต่ว่านิติกรรมที่เป็นโมฆียะกรรมนั้นอาจถูกบอกล้างให้กลายเป็นโมฆะได้ คือ ไม่มีผลตามกฏหมายหรือสูญเปล่าได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง หรือนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอาจได้รับการให้สัตยาบันทำให้นิติกรรมนั้นกลายเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะอีกต่อไปตามมาตรา 177 ซึ่งสมบูรณ์ย้อนหลังขึ้นไปจนถึงวันเวลาที่ทำนิติกรรมนั้น

2. เหตุแห่งโมฆียกรรม

เหตุที่ทำให้นิติกรรมหรือการกระทำใดตกเป็นโมฆียะ

(1) เหตุอันเนื่องมาจากความสามารถของบุคคลกล่าวคือ การกระทำนิติกรรม โดยบุคคลผู้หย่อนความสามารถอันได้แก่ ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ตามมาตรา 153 ปกตินิติกรรมดังกล่าวเป็นเพียงโมฆียะ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตกเป็นโมฆะ

(2) เหตุอันเนื่องมาจากการแสดงเจตนาวิปริต แยกได้ดังนี้การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสาระสำคัญตามมาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลถึงขนาดตามมาตรา 159 หรือการแสดงเจตนาโดยถูกข่มขู่ตามมาตรา 164 และ 165

(3) เหตุอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เช่น การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง สำคัญผิดตัวคู่สมรสการสมรสนั้นเป็นโมฆียะตามมาตรา 1505

3. ผลแห่งโมฆียกรรม

เมื่อนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ มีผลคือ โมฆียะกรรมนั้นอาจถูกบอกล้างหรืออาจให้สัตยาบันได้

(1) การบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ คือ การปฏิเสธหรือไม่รับรองนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น เพื่อให้เสียไปไม่มีผลผูกพันและบังคับกัน

(2) ผู้ที่เป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง กับผู้ไร้ความสามารถ ก็ไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 175 จึงไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม

วิธีบอกล้างและระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียกรรม

การบอกล้างโมฆียกรรมย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอนตามมาตรา 178

วิธีการบอกล้างโมฆียกรรม

(1) การบอกล้างโมฆียะกรรม กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ การบอกล้างโมฆียะกรรมจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่มีแบบแม้นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ จะเป็นนิติกรรมที่มีแบบหรือกฎหมายบังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ การบอกล้างจะทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 3237 / 2527 การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยทำหนังสือแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ เพราะถูกกลฉ้อฉลสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม จึงไม่ผูกพันจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยขอให้ยกฟ้องคำให้การดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว

(2) การบอกล้างโมฆียะกรรมต้องมีการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง ไม่ใช่โดยปริยายหรือการนิ่ง

(3) การบอกล้างโมฆียกรรม ต้องทำต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วย่อมจะต้องแสดงเจตนาบอกล้างแก่ทายาท หรือผู้รับประโยชน์ตามโมฆียกรรมนั้น

(4) การบอกล้างโมฆียกรรมเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว  ซึ่งต้องมีผู้รับการแสดงเจตนานั้นดังนั้นการแสดงเจตนาบอกล้างจึงมีผลเมื่อไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งหรือทายาทหรือผู้รับประโยชน์

(5) การบอกล้างโมฆียกรรมไม่จำเป็นต้องบอกล้างก่อนคดีเกิดการฟ้องคดีหรือการร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม หรือเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเพื่อบังคับตามนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มีสิทธิบอกล้างก็ยังมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมได้

(6) การบอกล้าง โมฆียกรรม ต้องบอกล้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 181 คือต้องบอกล้างภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือภายใน 10 ปีนับแต่ทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE