ลูกเมียน้อยมีสิทธิรับมรดกไหม

https://pantip.com/topic/41531556

ลูกเมียน้อยมีสิทธิรับมรดกไหม

สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี เคยได้รับคดีเกี่ยวกับลูกนอกสมรสมาฟ้องภริยาใหม่ของพ่อ เพื่อแบ่งสินสมรส ซึ่งมีข้อเท็จจริงคล้ายๆกันกับกระทู้นี้ครับ

ข้อเท็จจริงในกรทู้นี้มีอยู่ว่า พ่อของเจ้าของกระทู้เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงอื่นมาก่อนแล้ว และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ซึ่งจะรับรองโดยพฤติการณ์หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันต่อไป ซึ่งค่อนข้างยากต่อการพิสูจน์ เพราะยุคสมัยนั้น ไม่มีการถ่ายรูป หรือวิดีโอมากนัก ส่วนใหญ่จะอาศัยแต่เพียงการแจ้งเกิด หรือพฤติการณ์อื่นๆเพิ่มเข้าไป

หลังจากนั้นพ่อเจ้าของกระทู้ได้แต่งงานใหม่โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน มีที่ดิน 1 แปลง ซึ่งเป็นชื่อของแม่ ต่อมาพ่อเสียชีวิต ผ่านไป 10 ปี แม่เสียชีวิต ซึ่งตาและยายก็เสียชีวิตแล้วเช่นกัน คำถามมีอยู่ว่า ใครจะได้รับมรดกในที่ดินแปลงนี้

ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 มีอยู่ 6 ลำดับ นั่นคือ
1. บุตร
2.บิดา มารดา
3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา

ตามที่เจ้าของกระทู้เขียนมา อุดมคดีเข้าใจได้ว่า ตอนนี้ทายาทมีเพียงเจ้าของกระทู้กับลูกของเมียเก่าพ่อ และไม่มีการทำพินัยกรรม จึงขออธิบายวิธีคิด ดังนี้ครับ

เราอาจจะต้องถามกลับไปว่า โฉนดที่ดินนั้น ได้มาตอนอยู่ในระหว่างสมรสหรือไม่ จากการไล่เรียง Timeline ของเรื่อง สันนิษฐานได้ ที่ดินแปลงนี้ได้มาในระหว่างสมรสกันแล้ว ฉะนั้น ถือว่าพ่อเป็นผู้มีส่วนในที่ดินแปลงนี้อยู่ครึ่งหนึ่ง และของแม่อยู่ครึ่งหนึ่ง เมื่อพ่อเสียชีวิตก่อนการแบ่งที่ดินแปลงนี้จึงต้องเฉลี่ยใหกับทายาทของพ่อทั้ง 3 คน นั่นคือ 1.บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง 2. แม่เจ้าของกระทู้ในฐานะคู่สมรส 3.เจ้าของกระทู้เนื่องจากเป็นทายาทชั้นบุตร

เมื่อยังไม่มีการแบ่งที่ดิน เมื่อเกิดทรัพย์สินงอกเงยขึ้นมาในระหว่างนี้ ถือได้ว่าแม่เจ้าของกระทู้ และเจ้าของกระทู้ ครอบครองแทนที่ดินบุตรนอกกฎหมายนั้นอยู่ จึงมีสิทธิเรียกทรัพย์สินที่เป็นมรดกของพ่อได้

ต่อมาเมื่อแม่ตายลง ที่ดินในส่วนของแม่ ไม่ต้องเอากลับเข้ากองมรดกแล้ว สามารถเอาส่วนของแม่มาแบ่งให้กับเจ้าของกระทู้ในฐานะทายาทโดยธรรมได้เลย ฉะนั้น บุตรนอกกฎหมายจะได้ที่ดิน 1/3 เจ้าของกระทู้จะได้ที่ดิน 2/3 นั่นเอง

การรับรองบุตรโดยพฤติการณ์ในสมัยก่อนค่อนข้างยาก เนื่องจากยังไม่นิยมการถ่ายรูป การอัดวิดีโอ อาจจะเพียงอาศัยการแจ้งเกิด

สรุป ลูกเมียน้อยมีสิทธิรับมรดกไหม ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป ซึ่งตามข้อเท็จจริงแต่ละคนย่อมมีจุดแตกต่างกัน ควรปรึกษาทนายความก่อนจะดีที่สุดครับ เพราะบางเรื่องจะมีอายุความเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ

หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE