แชร์ลูกโซ่ กับธุรกิจขายตรง ต่างกันอย่างไร

  แชร์ลูกโซ่ กับธุรกิจขายตรง ต่างกันอย่างไร

https://pantip.com/topic/41598648

          ด้วยเงินฝากดอกเบี้ยต่ำ และต้องการสู้กับอัตราเงินเฝ้อ จึงมีกลุ่มมิจฉาชีพอาศัยช่องว่างของผลตอบแทนที่สูง มาเสนอให้กับบุคคลที่ไม่มีความรู้เรื่องรูปแบบการทำธุรกิจประเภทนี้อย่างดีพอ และกลุ่มคนร้ายจะโน้มน้าวเรื่องผลตอบแทนที่เป็นเงินในระยะสั้นที่ดีกว่า วันนี้เราจะมาแยกให้เข้าใจเบื้องต้นว่า แชร์ลูกโซ่ กับธุรกิจขายตรง ต่างกันอย่างไร

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560
  2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
  3. กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้อง

          ธุรกิจขายตรง คือการจำหน่ายสินค้า ที่มีตัวแทนในการขาย แนะนำสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้า โดยไม่มีหน้าร้าน หรือมีหน้าร้านก็ได้ ไม่จำกัดสถานที่ขาย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะไม่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด จึงเน้นอาศัยการเข้าถึงลูกค้าและโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ

          ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย ค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจไม่สูงมากนัก จะแบ่งเป็นค่าสมัครจ่ายเพื่อเอกสารคู่มือ และผลิตภัณฑ์สาธิตใช้เบื้องต้น

          ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแชร์ลูกโซ่ จะมีค่าธรรมเนียมในการสมัครสูง เรียกเก็บค่าประชุม ค่าฝึกอบรม และค่าผลิตภัณฑ์ และโน้มน้าวให้แนะนำหรือหาสมาชิกเข้ามาและจ่ายค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์จากการได้สมาชิกใหม่ แม้จะมีผลิตภัณฑ์ในระบบธุรกิจ แต่ผลิตภัณฑ์มีไม่มีรายการ จนไม่น่าเชื่อว่าทำกำไรหรือเป็นรายได้หลักของบริษัทได้ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจะเน้นให้ผู้หลงเชื่อสมัครเป็นสมาชิกและมุ่งเน้นให้หาสมาชิกเข้ามาและเสียค่าสมัคร มากกว่าจะมุ่งเน้นที่สินค้าของบริษัท

          แชร์ลูกโซ่ คือ การเน้นหาเงินจากการระดมทุนจากบุคคล โดยให้ค่าตอบแทนในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์จากการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าธนาคารในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และมักจะอ้างว่าระดมทุนนำเงินไปลงทุนในกิจการหนึ่ง และจะได้กำไรเอามาแบ่งกันตามเปอร์เซ็นต์ของเงินที่ลงทุน

ข้อสังเกตุ หลักที่ใช้กันทั่วไปของแชร์ลูกโซ่ คือ
1. ลงทุนน้อยกำไรมาก
2. ลงทุนไม่นาน ก็ได้ผลตอบแทนกลับมา
3. ไม่ต้องขายสินค้าเอง มีคนลงทุนทำงานให้ หรือใช้เงินทำงาน (ใช้เงินต่อเงิน)
4. กลุ่มที่ลงทุนกลุ่มแรกๆ จะได้เงินจริง เพื่อล่อเหยื่อให้ลงทุนเพิ่มหรือชักชวนเพื่อนๆมาลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพิ่ม จากนั้นก็ค่อยชิ่งหนี
5. มีวาทะศิลป์ในการพูด โน้มน้าวเพื่ออาศัยความโลภของผู้ฟัง หลอกล่อให้หลงเป็นเหยื่อ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี
1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา 343 ประกอบมาตรา 83 ฐานฉ้อโกงประชาชน
2. พระราชกำหนดการกู้ยืมที่เป็นฉ้อโกง พ.ศ. 2527 คดีแชร์ลูกโซ่ ตามฎหมายว่าด้วยการฟอกเงิน

          ในระยะหลังๆ มีการพัฒนา แชร์ลูกโซ่ในรูปแบบใหม่ มีรูปแบบแตกต่างจากธุรกิจขายตรงทั่วๆไป ทำให้บางครั้งผู้เสียหายดูไม่ออกว่า เป็นแชร์ลูกโซ่ หรือธุรกิจขายตรง เพราะมีจุดเหมือนกันอยู่บางอย่าง เช่น ให้ชักชวนเพื่อนๆ ญาติๆ มาสมัครเป็นสมาชิก

          กลโกงของแชร์ลูกโซ่ มีมากมายหลายรูปแบบ ตั้งแต่หลอกลวงให้ ลงทุนทองคำ หุ้นต่างประเทศ เก็งกำไรค่าเงินต่างประเทศ รถหรู ในระยะหลังจะมาในรูปแบบ แชร์ลูกโซ่ออนไลน์ เพราะสามารถแพร่กระจายได้เร็ว และมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก และมีการพัฒนา แชร์ลูกโซ่รูปแบบใหม่ เกิดขึ้นเรื่อยๆ

https://pantip.com/topic/33513522

ประวัติและที่มาของแชร์ลูกโซ่ Ponzi Scheme

เริ่มตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยชายชาวอิตาลี ชื่อ Chales Ponzi ที่มองเห็นโอกาสในการสร้างเงิน จากค่าเงินที่ตกต่ำลงของยุโรปในช่วงนั้น ที่จะหาช่วงว่าของค่าเงิน ดอลลาร์ และ ปอนด์ ของยุโรป โดยนายพอนซี ได้ชักชวนคนมาลุงทุน โดยให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเพียง 100 เหรียญ โดยนายพอนซีรับประกันจะจ่ายเงิน 2 เท่า ในเดือนถัดไป โดยในเดือนแรก ก็หลอกลวงคนอีก 4 คน เพื่อนำเงินไปคืน 2 คนแรกที่ลงทุนก่อนหน้านี้ เมื่อมีคนรู้ข่าวถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ทำให้แชร์ลูกโซ่ขยายวงกว้างไปโดยทันที โดยความเสียหายทนายพอนซีได้ก่อขึ้น มีมูลค่าความเสียหายกว่า 20 ล้านเหรียญ

          คดีแชร์ลูกโซ่ได้เงินคืนไหม ผู้เสียหายที่ถูกหลอกลงทุน มักจะถามทนายความเสมอ พฤติการณ์ที่จะได้เงินคืนหรือไม่นั้น อาจจะต้องดูจำนวนผู้เสียหาย และเงินที่ติดตามกลับมาได้ประกอบกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่เงินจะถูกเฉลี่ยจากจำนวนผู้เสียหาย ดังนั้น ผู้เสียหายที่ถูกหลอกลงทุน อาจะจะได้เงินคืนไม่เต็มจำนวน ในมุมมองของนักกฎหมายก็ถือว่าเป็นการบรรเทาผลเสียหายดีกว่าไม่ได้เงินเลย

ตารางเปรียบเทียบ แชร์ลูกโซ่ กับธุรกิจขายตรง ต่างกันอย่างไร

          ตามตารางการเปรียบเทียบด้านบน เป็นเพียงข้อสังเกตการณ์เบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มมิจฉาชีพ จะปรับเปลี่ยนรูปแบบของการแชร์ลูกโซ่ไปเรื่อยๆ แต่ประเด็นหลักๆคือ เน้นจำนวนสามาชิกมากว่าขายของอยู่นั่นเอง ซึ่งเราไม่ควรปล่อยให้บุคคลเหล่านี้ลอยนวลและใช้เงินที่หามาได้โดยทุจริต ตามสื่อข่าวต่างๆ มักจะมีมูลค่าความเสียหายเป็นล้านๆบาทครับ

สรุป หากท่านกำลังสงสัยว่า สิ่งที่ลงทุนไปนั้นเป็นธุรกิจขายตรงแอบแฝงแชร์ลูกโซ่ หรือเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่นั้น
1. ให้ตรวจสอบหนังสือรับรองบริษัท ฯ ประเภทวัตถุประสงค์ของกิจการ สัมพันธ์กับสินค้า ทุนจดทะเบียน และงบการเงิน หรือไม่
2. ตรวจสอบกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ว่าได้รับอนุญาตในการประกอบกิจการหรือไม่
3. กิจการมุ่งเน้นหาจำนวนสมาชิก มากกว่าเน้นขายผลิตภัณฑ์ และหลอกลวงว่าได้ผลตอบแทนสูง
4. ได้เงินคืน หรือส่วนแบ่ง ผลกำไร ในระยะเวลาอันสั้น แต่ไม่มีที่มาของเงินที่จะนำมาผันผลกำไร


หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE