ขั้นตอนในการตรวจสอบที่ดิน ก่อนซื้อ

        ขั้นตอนในการตรวจสอบที่ดิน ก่อนซื้อ สำหรับคนที่ทำงานเก็บเงินมาทั้งชีวิต ต้องการจะซื้อที่ดินไปปลูกบ้าน หรือซื้อไว้เพื่อเป็นที่ดินทำกินนะครับ วันนี้เรามีตัวอย่างคำถามจาก Pantip ว่า หากเราจะซื้อที่ดินซักหนึ่งแปลง เราจะต้องดูอะไรบ้างก่อนตัดสินใจซื้อ

          ขั้นตอนที่ 1 ตามที่เจ้าของกระทู้บอกมา เอกสารสิทธิเป็นที่ดินมีโฉนด (นส.4)  ดังนั้น หากเราต้องการตรวจสอบว่าที่ดินที่ต้องการซื้อใช่ที่ดินแปลงเดียวกับโฉนดหรือไม่นั้น  ต้องไปตรวจสอบที่สำนักงานที่ดินในสาขาที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่  ตามกระทู้ที่ดินอยู่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบ  ดังนั้น สำนักงานที่ดินที่เกี่ยวข้อคือ สำนักงานดินอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   โดยเข้าไปขอคัดสำเนาโฉนดที่ดินตามเลขที่โฉนด และเลขระวางที่ดิน เพื่อเป็นการอัพเดตว่า ดินที่แปลงนี้ผู้ถือกรรมสิทธิ์คนสุดท้ายคือใคร ติดจำนองหรือไม่ หรือที่ดินติดภาระจำยอมไหม และคนที่เราติดต่อด้วยมีอำนาจในการโอนกรรมสิทธิ์ให้เราหรือไม่หากทำการซื้อขายกันแล้ว  เพื่อป้องกันการโดนหลอกจากมิจฉาชีพ ซึ่งในสำนักงานที่ดินจะมีข้อมูลเหล่านี้ให้ตรวจสอบครับ

          ขั้นตอนที่ 2 คือ การขอดูพื้นที่ระวางที่ดิน  ซึ่งที่สำนักที่ดิน จะมีข้อมูลไว้ให้เป็นรูปวาดบนแผ่นฟิล์มขนาดใหญ่  เราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าที่ดินที่เราต้องการซื้ออยู่จุดไหน โดยการบอกเลขโฉนด เลขระวางที่ดินได้เลย 

          แต่สมัยนี้มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพียงเข้าไปที่เว็บไซส์  https://landsmaps.dol.go.th/     เเล้วพิมพ์เลขโฉนด และเลขระวางที่ดิน เราก็จะพบเส้นเขตแบ่งพื้นที่  รูปภาพแบบสามมิติ และรูปที่ดินแปลงใกล้เคียงทำให้เราเห็นภาพรวมได้ดีกว่าแบบเดิม

          ขั้นตอนที่ 3 หากผู้ซื้อที่ดินอยากทราบว่า ที่ดินตามโฉนด กับที่ดินจริงที่เราเข้าไปดู มีพื้นที่จริงๆไหม แอบถูกถอนหมุด ขยับหมุดเขตแดนที่ดินไหม  แก้ไขได้โดยการนัดเจ้าหน้าที่รังวัดเผื่อเข้าไปตรวจสอบครับ โดยเจ้าหน้าที่จะลงวันนัดและชำระค่าธรรมเนียม เมื่อถึงวันนัดรังวัด  จะมีเจ้าหน้าที่ที่ดิน  ผู้ใหญ่บ้าน  และเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงจะมาร่วมเซ็นรับทราบในการรังวัดครั้งนี้ด้วย

          ขั้นตอนที่ 4 หากต้องการจะสร้างบ้าน แน่นอนสิ่งที่ตามมาก็คือการขอเลขที่บ้านและการขออนุญาตใช้ไฟฟ้า เจ้าของบ้านต้องมีแบบบ้านที่จะก่อสร้างจริงก่อนแล้วไปทำเรื่องขออนุญาตก่อสร้างที่ท้องที่นั้นๆ  (สำนักงานเขต , สำนักงานเทศบาล ขึ้นอยู่กับพื้นที่เขตนั้น)  เมื่อเจ้าหน้าที่รับเรื่องแล้ว หากเห็นว่าแบบแปลนก่อสร้างถูกต้องตามแบบก็ออกใบอนุญาตก่อสร้าง หรือหากต้องปรับแก้ตรงไหน ก็แก้ไขแล้วมายื่นขออนุญาตใหม่

หลักฐานยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

          1) กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)

          2) เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ (กรณีที่ไม่มีสถาปนิก สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานจากสำนักงานเขตท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ๆ ได้)

          3) หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรงานก่อสร้าง

          4) สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ที่ดินผืนนั้น หรือกรณีเช่าที่ดินปลูกสร้างบ้าน จะต้องมีเอกสารแสดงสิทธิที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของด้วย

          5) สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วยตัวเอง จะต้องมีหนังสือแสดงการมอบอำนาจให้กับผู้ที่เป็นตัวแทนในการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง

สรุป ขั้นตอนในการตรวจสอบที่ดิน ก่อนซื้อ ตรวจสอบโฉนดที่ดินว่าผู้ขายเป็นผู้มีสิทธิจำหน่ายหรือไม่ ติดจำนองหรือไม่ เป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่จะซื้อขายหรือไม่ ส่วนการทำสัญญาจะซื้อขาย ทนายความ ก็มีความจำเป็นในการช่วยร่างสัญญาเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลังครับ

          หากท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ติดต่อ สำนักงานกฎหมาย อุดมคดี ที่
เบอร์ 082-583-8658
Line:@Udomkadee
Fanpage: https://www.facebook.com/UDOMKADEE